About Us

My photo
1518 Soi Jaransaniwong 75 Junction 32, Bangphlad, Bangphlad,, Bangkok 10700, Thailand
The Community Resources Centre Foundation (CRC) is a non-governmental organisation which is committed to protect and promote the Human Rights, Community Right and the Environment. CRC is a watchdog on the implementation of ICCPR and ICESCR. มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน (ศขช.) เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร ตั้งขึ้นมาเพื่อทำงานในการปกป้องและส่งเสริม สิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชน และสิ่งแวดล้อม ศขช.เฝ้าระวังสถานการณ์ ตามกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และกติกาสากลว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

Thursday, October 1, 2015

ศาลชี้ ‘กฟผ.’ ผิดกม.-ใช้ที่สาธารณะน่าน สร้างสายส่งไฟฟ้าแรงสูงไม่ขออนุญาต – สั่งยุติโครงการ


ศาลปกครองเชียงใหม่พิพากษา กฟผ. ผิด รุกพื้นที่สาธารณะต.ดู่ใต้ จ.น่าน สร้างสายส่งไฟฟ้าแรงสูง กระทบที่ทำกินชุมชน สั่งยุติโครงการ - ทนายย้ำ แม้เป็นหน่วยงานรัฐก็ต้องขออนุญาตใช้พื้นที่ตามกฎหมาย

Thursday, September 17, 2015

เมื่อเสรีภาพทางวิชาการของข้าพเจ้าถูกคุกคาม : ภายใต้รัฐ ทุน และบรรยากาศที่ไม่เป็นประชาธิปไตย (โดย นายสันติภาพ ศิริวัฒนไพบูลย์)


..........................................................................

ข้าพเจ้าคงไม่อ้างถึงอะไรก็ตามที่เป็นบทบัญญัติถึงเสรีภาพทางวิชาการ เพราะเป็นหลักสากลที่เขาปฏิบัติกันทั่วโลก แต่สิ่งที่เจ้าหน้าที่ทหารกระทำกับข้าพเจ้านั้น เป็นเรื่องที่ไม่อาจยอมรับได้ การอ้างเพียงแต่ความมั่นคงและต้องรายงานนาย แต่กระทำการข่มขู่ คุกคาม โดยไม่ได้แสดงตัวและไม่จริงใจที่จะเข้ามาพบปะพูดคุยกันก่อน เป็นเรื่องของการไร้มารยาทและขาดจิตวิทยาทางสังคมของเจ้าหน้าที่อย่างร้ายแรง การใช้คำพูด การแสดงท่าที รวมถึงทัศนคติต่อนักศึกษา ชาวบ้าน และข้าพเจ้า ไม่มีความเป็นกัลยาณมิตร มองเป็นฝ่ายตรงข้าม เป็นศัตรู เป็นพวกปลุกระดมทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐเป็นเช่นนี้กันทั้งประเทศ ประชาชนจะมีความสุขได้อย่างไร ประเทศชาติจะมั่นคงได้หรือ?

ข้าพเจ้าเพียงไปเก็บข้อมูลตามแผนดำเนินการวิจัยที่ได้กำหนดเอาไว้นานแล้ว เป็นประเด็นวิจัยเรื่องความเป็นธรรมทางสังคมและสุขภาวะ โดยเฉพาะเรื่องสถานภาพทางเศรษฐกิจและการพึ่งตนเองของชุมชน เพื่อที่จะให้ชุมชนได้ตระหนักถึงข้อมูลด้านเศรษฐกิจของตนเอง การพึ่งพาสินค้าต่างๆ จากภายนอก สัดส่วนที่ชุมชนผลิตได้เอง รูปแบบการใช้ฐานทรัพยากรของชุมชน และปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของชุมชน เป็นต้น เพื่อเป็นข้อมูลวางแผนร่วมกันของชุมชนในการแก้ปัญหาและทำให้เศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็งในอนาคต 

งานวิจัยนี้ร่วมกับสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการสนับสนุนจาก สสส. ข้าพเจ้าได้พานักศึกษาลงไปเรียนรู้ชุมชน ให้มีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับเทคนิควิธีการในการเก็บข้อมูลในชุมชนโดยการสัมภาษณ์ ภายใต้รายวิชาที่ข้าพเจ้ารับผิดชอบ ข้าพเจ้าไม่เห็นว่าการกระทำดังกล่าวจะเป็นภัยต่อความมั่นคงแต่อย่างใด หรือว่าการที่ชุมชนพึ่งตนเองได้นั้น มันกระทบความมั่นคงของใคร? เหมืองแร่จะเกิดหรือไม่เกิด ชุมชนก็ต้องพยายามแก้ปัญหาเศรษฐกิจของเขา ไม่เห็นจะเป็นเรื่องเสียหาย 

ข้าพเจ้ากลับมองว่าเป็นเรื่องดีเสียอีก พื้นที่เหมืองแร่โปแตซ จังหวัดอุดรธานี เป็นพื้นที่แห่งความขัดแย้งก็จริง แต่ไม่เคยเกิดเหตุการณ์รุนแรง และชุมชนที่นี่ก็ปฏิบัติตามกฎหมายตลอดมา ไม่ว่าจะผ่านรัฐธรรมนูญมากี่ฉบับ การต่อสู้ของชุมชนที่ห่วงกังวลว่าตนเองอาจจะได้รับผลกระทบจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ในพื้นที่บ้านตนเองเป็นความชอบธรรม เพราะเหมืองแร่จะไปชอนไชใต้ถุนบ้านเขาซึ่งจะมีการขุดแร่ในพื้นที่หลายหมื่นไร่นั้น เป็นใครก็ต้องวิตกกังวลและย่อมไม่ผิดที่เขาจะคัดค้านโครงการ และที่ผ่านมาไม่ได้มีแต่ข้าพเจ้าเท่านั้นที่เข้าไปทำงานวิชาการในพื้นที่ชุมชนเหล่านี้ ตลอดช่วงเวลาที่ชาวบ้านรวมกลุ่มกันคัดค้านเหมืองแร่มา 15 ปี มีนักวิชาการ นักศึกษา ได้มาศึกษาดูงาน ทำวิจัย ฝึกงาน บ่มเพาะประสบการณ์ด้านสิทธิชุมชนและการมีส่วนร่วมฯ มากมาย เฉพาะงานวิจัยน่าจะมีไม่น้อยกว่า 20 เรื่อง ผลิตบัณฑิต มหาบัณฑิต หรือจบด๊อกเตอร์ไปก็หลายคน ก็ไม่เห็นว่าจะเกิดปัญหาอะไร 

มีเพียงช่วงปีกว่าๆ มานี้เองที่การเคลื่อนไหวของชาวบ้านถูกปิดกั้นเสรีภาพในการเรียกร้อง การแสดงออกและการมีส่วนร่วมฯ ด้วยรัฐบาลทหารประกาศ คำสั่งต่างๆ รวมทั้งการส่งเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ เข้ามาสอดแนมและคุกคามชาวบ้านจนไม่เป็นปกติสุข คนของบริษัทนายทุนเหมือง เจ้าหน้าที่รัฐ ล้วนเป็นเสมือนพวกเดียวกันที่คอยรายงานการเคลื่อนไหวต่างๆ นานาของกลุ่มที่คัดค้านโครงการต่อผู้บังคับบัญชา จนชาวบ้านรู้สึกถึงการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง ความเครียด ความกดดันและความรู้สึกถึงความไม่พึงพอใจเจ้าหน้าที่รัฐจึงมากมายเป็นเท่าทวี นี่หรือคือการคืนความสุขให้ประชาชน

นอกจากนี้ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ก็ได้ออกระเบียบเรื่องการประชาคมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใหม่ ให้เป็นเพียงการชี้แจงข้อมูลโดยไม่ต้องลงมติ และไม่ต้องประชาคมทุกหมู่บ้านในเขตเหมือง จึงเป็นที่มาของการจัดประชุมไปเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2558 ในค่ายทหาร มีเป้าหมายชัดว่าจัดให้ผ่านๆ ไป สักแต่ว่าได้จัดโดยไม่สนใจเนื้อหาสาระหรือไม่สนใจว่าใครจะเข้าร่วม โดยมีเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ คุ้มกันอย่างแน่นหนาและเข้มงวด เพื่อที่จะดำเนินการให้ได้ด้วยความเรียบร้อย และในขั้นต่อไปก็จะเป็นการขอมติจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และคงตามมาด้วยการอนุญาตประทานบัตร หรือการออกใบอนุญาตประกอบการแก่นายทุนในที่สุด คงเป็นการคืนความสุขให้นายทุนอย่างน่าภาคภูมิใจ

เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมของนโยบายเหมืองแร่ ก็ทำให้เข้าใจได้ว่า ทุกรัฐบาลล้วนอยากให้มีการทำเหมืองแร่ แต่รัฐบาลนี้ ส่งเสริมสนับสนุนกิจการเหมืองแร่อย่างมัวเมาและบ้าคลั่ง โครงการเหมืองแร่โปแตซซึ่งจะเกิดขึ้นเฉพาะภาคอีสานเท่านั้น กำลังสำรวจและยื่นขอประทานบัตรหลายโครงการ คงทยอยได้รับอนุญาตไปเรื่อยๆ ตามแผน น่าจะมีถึง 10 เหมือง ในพื้นที่ประมาณ 3 ล้านไร่ ผลิตแร่โปแตซปีละ 10 ล้านตัน (ทั้งๆ ที่ความต้องการภายในประเทศมีแค่ 8 แสนตัน) มีกากขี้แร่ที่เป็นเกลือเค็มๆ ปนเปื้อนสารเคมีเกิดขึ้นอีกประมาณปีละ 20-30 ล้านตัน และทั้งหมดเป็นเหมืองแร่ใต้ดินที่ตามกฎหมายแร่สามารถชอนไชใต้ถุนบ้านใครก็ได้ถ้ารัฐให้สัมปทานในเขตพื้นที่ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นบ้านชาวบ้าน บ้านเศรษฐี วัด โรงเรียน ส่วนราชการ โรงพยาบาล หรือแม้แต่ค่ายทหาร สามารถมุดไปชอนไชเอาแร่ได้หมด และกฎหมายแร่ฉบับใหม่ที่กำลังจะออกมาได้ผ่าน ครม. ไปแล้ว กำลังอยู่ในการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา หลังจากนั้นคาดว่าจะผ่านการพิจารณาโดย สนช. และประกาศใช้ในที่สุด กฎหมายฉบับใหม่นี้ มีเนื้อหาสาระที่แย่กว่าเดิมเสียอีก เพราะการประกาศเขตเหมืองแร่และการทำเหมืองแร่สามารถทำได้ทุกที่ ไม่เว้นแม้แต่พื้นที่อนุรักษ์ เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรืออุทยานแห่งชาติ รวมถึงส่วนราชการสามารถทำรายงานศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) ในขั้นตอนการประกาศเขตเหมืองแร่ได้เลย โดยที่ภาคเอกชนที่จะมาขอทำแร่ไม่ต้องทำรายงาน EIA ในขั้นตอนขออนุญาตอีก เรียกได้ว่าเอื้ออำนวยประโยชน์กันอย่างที่สุด

ตอนนี้รัฐบาลกำลังมีนโยบายที่จะดำเนินการเหมืองแร่ทองคำในพื้นที่ 12 จังหวัด ได้แก่ พิจิตร พิษณุโลก ลพบุรี เลย สตูล สระแก้ว สุราษฎร์ธานี จันทบุรี ระยอง สระบุรี นครสวรรค์ และเพชรบูรณ์ ล้วนเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ด้านเกษตรกรรม ป่าไม้ และชุมชน รัฐมีนโยบายที่สวนทางกับสถานการณ์ปัญหาและความเดือดร้อนของประชาชน ที่เหมืองทองคำที่จังหวัดเลยและพิจิตร ก็เต็มไปด้วยสารพัดปัญหาทั้งผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และยังไม่มีหน่วยงานใดของรัฐเข้ามารับผิดชอบดำเนินการแก้ไข หรือแม้แต่จะกล้าชี้ชัดลงไปว่าปัญหาเหล่านี้เกิดจากเหมือง

ข้าพเจ้าไม่คิดว่าการพัฒนาที่พึ่งพาการขุดหาของเก่ามาขายกินนั้นมันจะเป็นเศรษฐกิจที่สร้างสรรค์อะไร เพราะมันไม่ต้องใช้สมอง ปัญญาหรือความเก่งกาจล้ำเลิศอะไรเลย ของที่อยู่บนดิน คือ แผ่นดินอันอุดมสมบูรณ์และกว้างใหญ่ไพศาลอย่างประเทศไทยที่ใครๆ ในโลกก็อยากจะครอบครองนั้น ข้าพเจ้ายังเชื่อว่าสามารถทำมาหากินและสร้างสรรค์มูลค่าและคุณค่าได้อีกมากมายมหาศาลจวบจนชั่วลูกชั่วหลานอย่างยั่งยืน ถ้าผู้กำหนดนโยบายใช้ปัญญาให้มาก ใช้อำนาจให้น้อย และรับฟังคนอื่นให้มากขึ้น    

ข้าพเจ้าคงคาดหวังมากเกินไปที่คิดว่าบรรษัทขนาดใหญ่ทั้งหลายจะรู้สึกอับอายและไม่ภาคภูมิใจกับการได้รับสิทธิประโยชน์ หรือการอนุมัติอนุญาตต่างๆ จากรัฐ โดยอาศัยอำนาจ กฎหมาย กลไกที่ไร้ความยุติธรรม ย่ำยีชุมชน ทำลายสิ่งแวดล้อม และไม่เห็นคุณค่าของชีวิตคน เพราะนั่นเท่ากับว่าคุณใช้วิถีทางที่ไม่มีธรรมาภิบาลมาตั้งแต่ต้น แล้วจะอยู่ร่วมกับชุมชนไปอย่างราบรื่นและมีความสุขกันทุกฝ่ายได้อย่างไร  

ข้าพเจ้าไม่รู้สึกว่าตนเองมีความสุขเลย ไม่คิดว่าประชาชนจะมั่งคั่ง ประเทศชาติ หรือภาคอีสานจะมั่นคงยั่งยืนอะไรเลยจากธุรกิจขุดหาของเก่าขาย และคงมีคนอีสานอีกหลายล้านคนที่รู้สึกเช่นเดียวกับข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเองก็ไม่ได้ฝักใฝ่ หรือเป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มใด เป็นเพียงนักวิชาการธรรมดา ทำหน้าที่ตามปกติ คือ สอน วิจัย บริการวิชาการ แต่จะให้วางตัวเป็นกลางและวางเฉยแบบไม่รู้สึกรู้สาปัญหาของชาวบ้าน คงทำแบบนั้นไม่ได้...        
17 กันยายน 2558


Friday, August 21, 2015

นักผังเมืองชี้ ผังเมืองรวมเอื้อนายทุน ส่อมีปัญหาทั้งประเทศ



(สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม) ภารณี สวัสดิรักษ์ นักวิชาการด้านผังเมืองชี้ร่างผังเมืองรวมระยองเอื้อประโยชน์นักลงทุน-เพิ่มความเหลื่อมล้ำ  แนะรัฐควรตัดสินใจปรับลดและกำหนดอายุพื้นที่อุตสาหกรรมให้ชัดเจน  พร้อมระบุร่างใหม่มีปัญหาทั่วประเทศโดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้

Sunday, July 26, 2015

หลากหลายเสียงของผู้ใช้สิทธิชุมนุมเพื่อปกป้องฐานทรัพยากร ต่อพ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558


(ศูนย์สื่อชุมชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม)

อีกไม่นานพ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 ก็จะมีผลบังคับใช้ เมื่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือสนช. ได้พิจารณาเห็นชอบผ่านร่างดังกล่าวไปแล้ว (ทั้งวาระ 2 และวาระ 3 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม ที่ผ่านมา) และมีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558 ซึ่งจะมีผลเมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันประกาศ

สำหรับสาระสำคัญของพ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ มีทั้งสิ้น 35 มาตรา อาทิ ห้ามชุมนุมในรัศมี 150 เมตร เขตพระบรมมหาราชวัง, ห้ามชุมนุมที่รัฐสภา ทำเนียบ และศาล ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้ได้รับมอบหมายมีอำนาจประกาศห้ามชุมนุมในระยะห่างไม่เกิน 50 เมตร, ห้ามขวางทางเข้า-ออก รบกวนการทำงานการใช้บริการหน่วยงานรัฐ ทั้งท่าอากาศยาน  ท่าเรือ สถานีรถไฟ  ขนส่งสาธารณะ โรงพยาบาล  สถานศึกษา  ศาสนสถาน  สถานทูต สถานกงสุล และสถานที่ทำการองค์การระหว่างประเทศ, ต้องแจ้งการชุมนุมก่อนเริ่มไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง พร้อมทั้งระบุวัตถุประสงค์ และวัน เวลา และสถานที่ที่จะทำการชุมนุมด้วย, ห้ามปราศรัยในเวลาเที่ยงคืนถึง 06.00 น. ต้องไม่เคลื่อนการชุมนุมในเวลา 18.00 - 06.00 น. และการสลายการชุมนุมต้องขออนุมัติจากศาล เป็นต้น

Thursday, July 23, 2015

แถลงการณ์เครือข่ายปชช.8จว.ลุ่มน้ำโขง

เครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง ออกแถลงการณ์ "ท่าทีต่อปัจจัยคุกคามแม่น้ำโขง เขื่อน การผันน้ำ เขตเศรษฐกิจพิเศษ และการอนุรักษ์ระบบนิเวศข้ามพรมแดน"



Tuesday, June 30, 2015

สนง.ข้าหลวงใหญ่สิทธิฯ ยูเอ็น เรียกร้องรัฐบาลไทยยุติการดำเนินคดีนักศึกษา OHCHR URGES THAILAND TO RELEASE STUDENTS

(30 มิ.ย.58) สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (OHCHR) เรียกร้องรัฐบาลไทยยุติการดำเนินคดีนักศึกษาที่ถูกจับกุมจากการชุมนุมโดยสงบ และปล่อยตัวพวกเขาจากสถานที่ควบคุมโดยทันที พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลไทยทบทวนการใช้กฎหมายที่จำกัดเสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพในการชุมนุมให้สอดคล้องกับพันธกรณีของไทยภายใต้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ

Monday, June 29, 2015

An open letter An inquiry into the issuance of search warrant of attorney’s vehicle urged (Attorney of the Thai Lawyers for Human Rights)

An open letter
An inquiry into the issuance of search warrant of attorney’s vehicle urged
(Attorney of the Thai Lawyers for Human Rights)  

One year after forced eviction against Non Din Daeng community in Burirum, the eviction continues unabated



One year after forced eviction against Non Din Daeng community in Burirum, the eviction continues unabated
Forced eviction must end; community must be compensated, remedied and assisted to a relocation site

Thursday, June 18, 2015


The Mekong River Commission’s Silence on the Don Sahong Dam Must End 


Wednesday, June 17, 2015

อดีตนายกฯ อานันท์ มอบรางวัล SVN AWARD ปี 2557 เชิดชูเกียรติ 
แก่คณะอนุกรรมการสิทธิชุมชน ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 

คำประกาศรางวัล SVN AWARD ยกย่องเชิดชูเกียรติประจำปีพ.ศ.2557 
แก่คณะอนุกรรมการสิทธิชุมชน ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

Monday, June 8, 2015

JOINT STATEMENT
MINISTERIAL MEETING ON IRREGULAR MOVEMENT
OF PEOPLE IN SOUTHEAST ASIA
The Ministers of Foreign Affairs of Malaysia, Indonesia and Thailand met in Putrajaya, Malaysia on Wednesday, 20 May 2015 to discuss the issue of irregular movement of people into Indonesia, Malaysia and Thailand.  This is with a view to finding a solution to the crisis of influx of irregular migrants and its serious impact on the national security of the affected countries. 

Thursday, June 4, 2015

The Oral Statement
to the United Nations Committee on International Covenant
on Economic, Social and Cultural Rights (ICESCR)
55th Session
on Monday 1st June 2015 at Palais Wilson
By
Community Resource Centre
Northern Development Foundation
Thai Sea Watch Association
E-Sarn Human Rights and Peace Information Centre
Project for Campaign for Public Policy on Mineral Resources

Dear Excellency,

We know that Thailand is developing country but almost of the development project either government or private project have not concerned about the self determination, fair natural resources management and democratic participation of people for the decision to start the project until the end of the project. There was also lake of improvement on good standard of technology and pollution to prevent the violation on Human Rights and Environment.

We found that no any law and regulation related to Extraterritorial Obligation and adopted the term of Business and Human Rights such as Cooperate Social Responsibility (CSR) have been implemented. We urge for legislation a good governance and social responsibility for government agency and cooperate to promote the rule of business and human rights and not only in Thailand but need to make it according to Extraterritorial Obligation.

There are several laws need to be reformed to ensure the right to live in good environment and impose their livelihood and right to public participation, access to information and participation on natural resources management, especially, new Fishery Act, Land Law, Mining Law, Forest and National Park Law and Environmental Law.

As, Thailand is a member of ASEAN, the state should join with other member to promote and protect Human Rights and Environmental Rights under extraterritorial obligation such as making the protection procedure on The ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights (AICHR)

Thank you,

Read by Sor.Rattanamanee Polkla, coordinator of Community Resource Centre (CRC)



-------------------------------------------------------
Download : 
by Community Resource Centre, Northern Development Foundation, Thai Sea Watch Association, E-Sarn Human Rights and Peace Information Centre, Project for Campaign for Public Policy on Mineral Resources
Submitted by May 8, 2015

Saturday, May 23, 2015

สมาคมนักกฎหมายสิทธิฯ ออกแถลงการณ์ ร้องตรวจสอบจนท.ใช้อำนาจควบคุมตัวปชช-นศ.ที่แสดงออกรำลึก1ปีรัฐประหารอย่างสงบ


๑๒ องค์กรปชช.อีสาน ออกแถลงการณ์ "ปล่อยตัวนศ.ดาวดินแบบไม่มีเงื่อนไข" เหตุชูป้ายต้านรัฐประหาร-ติรบ.จัดการทรัพยากรเอื้อประโยชน์ทุน

Friday, March 27, 2015

ASEAN rights activists demand change ahead of People’s Forum

                               Members of the ASEAN Civil Society Conference/ASEAN People’s Forum. Photo courtesy ACSC/APF

(By Casey Hynes Mar 26, 2015)
The missing Laotian civil society leader Sombath Somphone will be at the forefront of the conversation at the ASEAN Civil Society Conference/ASEAN People’s Forum meets in Kuala Lumpur next month. Sombath is a victim of enforced disappearance, and was kidnapped in Vientiane, Laos, in 2013. The Laos government has consistently denied involvement or refused to provide real information about the missing civil society leader, and his case has come to represent one of the most egregious human rights offenses still committed in the ASEAN countries.

Sunday, March 22, 2015

เครือข่ายภาคประชาชนอีสาน หนุนกฎหมายรายงานมลพิษอุตสาหกรรม

Wednesday, March 18, 2015

อะไรอยู่ในกฎหมายปิโตรเลียม ตอนที่ ๓

(เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์)

                ความคลุมเครือที่กลายเป็นอุปสรรคสำคัญที่สุดของขบวนการประชาชนที่ต่อสู้เรียกร้องให้แก้ไขกฎหมายปิโตรเลียมและกฎหมายภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเพื่อเปลี่ยนจากระบบสัมปทานเป็นระบบแบ่งปันผลผลิตก็คือ การเปลี่ยนเป็นระบบแบ่งปันผลผลิตจะสามารถเปลี่ยนนิยาม  ปิโตรเลียมเป็นของรัฐ”  ได้หรือไม่  ทั้งนี้  ฝ่ายนำของขบวนการประชาชนที่ต่อสู้เรียกร้องให้ยกเลิกการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมครั้งที่ ๒๑  ได้ปล่อยให้แนวร่วมชนชั้นกลางและชนชั้นนำในกรุงเทพฯเข้ามายึดกุมความคิดและควบคุมการเคลื่อนไหวของขบวนการประชาชนไว้แทบหมดสิ้นแล้ว  ซึ่งแนวร่วมชนชั้นเหล่านั้นมีเป้าหมายเพียงแค่การแก้ไขกฎหมายปิโตรเลียมเพื่อเปลี่ยนจากระบบสัมปทานไปเป็นระบบแบ่งปันผลผลิตเท่านั้นพอ  เพราะสิ่งที่ต้องการก็คือผลประโยชน์ที่รัฐจะได้รับมากขึ้นจากระบบแบ่งปันผลผลิต  นอกจากนั้น  พวกเขามีความคิดและมุมมองเช่นเดียวกับรัฐ  ดังนั้น  เพื่อคงไว้ซึ่งความเป็นเจ้าของทรัพยากรปิโตรเลียม  การรักษานิยามความหมายให้ปิโตรเลียมเป็นของรัฐจะเป็นหลักประกันได้ดีที่สุดว่ารัฐสามารถมีอำนาจบีบบังคับให้ประชาชนเปิดทางเพื่อขนเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการขุดเจาะสำรวจ  ผลิต  วางท่อขนส่งและก่อสร้างโรงแยกก๊าซบนที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองของประชาชนเอง  รวมทั้งที่สาธารณประโยชน์ที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันด้วย  เพื่อข่มขู่บังคับให้มีพลังการต่อต้านขัดขืนจากประชาชนให้น้อยที่สุด 

                นอกจากประเด็นเรื่องปิโตรเลียมเป็นของรัฐ  ยังมีสารัตถะอื่นของกฎหมายปิโตรเลียมที่จะได้นำมากล่าวไว้ด้วยในบทความนี้

Tuesday, March 17, 2015

อะไรอยู่ในกฎหมายปิโตรเลียม ตอนที่ ๒

(เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์)

หากมุ่งแก้ไขกฎหมายปิโตรเลียมและกฎหมายภาษีเงินได้ปิโตรเลียมตามที่รัฐบาลเผด็จการทหาร คสช. มีบัญชาให้แล้วเสร็จภายในสามเดือน นับแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ เฉพาะเพียงแค่การเปลี่ยนระบบสัมปทานไปเป็นระบบแบ่งปันผลผลิตตามที่ขบวนการประชาชนหลากหลายกลุ่มก้อนกำลังเรียกร้องกันอยู่ในขณะนี้ ก็เป็นเรื่องยากที่จะสร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายและโครงการพัฒนาด้านพลังงาน-ปิโตรเลียมได้ดีพอ เพราะความไม่เป็นธรรมที่ซ่อนอยู่ในกฎหมายทั้งสองฉบับยังมีอีกหลายประเด็นที่ไม่ได้ถูกกล่าวถึง

อะไรอยู่ในกฎหมายปิโตรเลียม ตอนที่ ๑

(เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์)


                
                ขบวนการประชาชนที่่ต่อสู้คัดค้านเพื่อขอให้รัฐยกเลิกการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมครั้งที่ ๒๑  แก่ผู้สนใจลงทุนภาคเอกชนกำลังอยู่ในกระแสสูง  เป็นที่จับตามองของสังคมอย่างใกล้ชิด  จากการยอมอ่อนข้อของรัฐบาลเผด็จการทหาร คสชที่มีคำสั่งยกเลิกชั่วคราวต่อการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ ๒๑  ประมาณสามเดือนนับจากปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้  โดยให้ดำเนินการแก้ไขกฎหมายปิโตรเลียม หรือพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.. ๒๕๑๔  ให้แล้วเสร็จเสียก่อน  นั้น  ดูเหมือนว่าเหตุผลที่ขบวนการประชาชนหลากหลายกลุ่มก้อนยกขึ้นมาอ้างต่อการเรียกร้องให้รัฐยกเลิกการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ ๒๑  มีเพียงข้อเดียว  นั่นคือ  ระบบสัมปทานที่ระบุไว้ในกฎหมายปิโตรเลียมเป็นระบบที่รัฐได้ค่าตอบแทนหรือผลประโยชน์น้อยมาก  ไม่คุ้มค่ากับทรัพยากรปิโตรเลียมที่สูญเสียไป  ต่างจากระบบแบ่งปันผลผลิตในหลายประเทศเพื่อนบ้านที่ให้ผลประโยชน์สูงกว่ามาก  จึงเรียกร้องให้แก้ไขกฎหมายปิโตรเลียมโดยเปลี่ยนจากระบบสัมปทานให้เป็นระบบแบ่งปันผลผลิตเสียก่อน  แล้วจึงค่อยดำเนินการประกาศเปิดพื้นที่ให้ผู้สนใจลงทุนภาคเอกชนยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมครั้งใหม่

Monday, March 16, 2015

“ทุ่งคา” เปิดบัญชี หลัง “ทุ่งคำ” ขนแร่ออกจากเหมืองทอง



A DamAffected Community Celebratesthe International Day of Action for Rivers and Opposesthe Lower Sesan 2 Dam in Stung Treng Province, Northeastern Cambodia


WWF เผยมหันตภัยเขื่อนไซยะบุรีกระทบประชาชนเอเชียอาคเนย์ 60 ล้านคน



กรุงเทพ, 14 มีนาคม 2558 – วันหยุดเขื่อนโลก
WWF-เผยแพร่สารคดีสั้นสะท้อนผลกระทบของเขื่อนไซยะบุรีในประเทศลาวต่อชุมชนลุ่มแม่น้ำโขง และทัศนะด้านวิชาการ จากผู้นำองค์กรพัฒนาเอกชน นักวิจัย นักกฎหมาย และนักวิชาการหลายแขนง

Saturday, March 14, 2015

Chiang Khong Declaration ( International Day of Action for Rivers and Against Dams)


Thai Leaders Must Talk to China about Mekong Dams
Six Mekong governments are obliged to protect riparian people and the ecology of the Mekong

Thursday, March 5, 2015

Tuesday, March 3, 2015

เลขาธิการ กป.อพช.อีสาน โต้ร่างพ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ ละเมิดสิทธิประชาชน

Friday, February 27, 2015

การแสดงศิลปะ แม่โขง: สายน้ำเราร่วมกัน ครั้งที่ 5

ศิลปะเพื่อแม่น้ำโขง
เพื่อนๆ ที่อยู่กรุงเทพเสาร์นี้ ชวนมาร่วมกิจกรรมนะครับ
28 กุมภาพันธ์ ที่ BACC หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครhttps://www.facebook.com/Stopxayaburidam/photos/a.322752301152407.77945.322738997820404/807715705989395/?type=1&theater

Wednesday, February 11, 2015

เหตุผล 14 ประการที่ไม่ควรสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น-ยมบน-ยมล่าง



14 แนวทางแก้ไขปัญหา น้ำท่วม น้ำแล้ง ลุ่มน้ำยม 
โดยไม่ต้องสร้าง เขื่อนแก่งเสือเต้น เขื่อนยมบน เขื่อนยมล่าง


Thursday, January 29, 2015


สำนักงานเลขาคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง MRC แถลงข่าว"การประชุมวิสามัญคณะกรรมการร่วม 4 ประเทศ กรณีโครงการเขื่อนไฟฟ้าดอนสะโฮง"


Monday, January 26, 2015

แถลงการณ์เครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง 
เขื่อนไซยะบุรีเริ่มผันน้ำโขงวันนี้
ชาวบ้านทวงถามการทำหน้าที่ของหน่วยงานรัฐไทย


Laos is ignoring significant concerns of its neighbours on Mekong dams


Stage 2 of Xayaboury dam set to begin
 


Friday, January 23, 2015

แล้วจะเหลือฐานทรัพยากรอะไรเพื่อการปฏิรูปเมื่อแจกสัมปทานเหมืองแร่ให้ต่างชาติไปจนหมด


Thursday, January 22, 2015

เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ประเทศไทยออกแถลงการณ์แสดงความเห็นต่อร่างพ.ร.บ.แร่ แนะกฤษฎีกาดึงความเห็นภาคปชช.-ร่างกม.ฉบับคปก.ร่วมพิจารณา

Friday, January 16, 2015

ประมงเรือเล็กระยองยัน  ไม่เจรจารับเงินชดเชยน้ำมันรั่ว หาก บ.พีทีทีจีซี ไม่ทำแผนฟื้นฟูทะเล


ศาลระยองไกล่เกลี่ยคดีน้ำมันรั่วไม่เป็นผล ชาวบ้านยันไม่คุยเรื่องเงินชดเชย หากบริษัทฯ ไม่จริงใจทำแผนฟื้นฟูทะเล ชี้แผนฯเดิมทำร่วมหน่วยงานรัฐเน้นแก้ท่องเที่ยว ไม่สนใจขจัดมลพิษ ศาลนัดหน้า 13 มี.ค.