About Us

My photo
1518 Soi Jaransaniwong 75 Junction 32, Bangphlad, Bangphlad,, Bangkok 10700, Thailand
The Community Resources Centre Foundation (CRC) is a non-governmental organisation which is committed to protect and promote the Human Rights, Community Right and the Environment. CRC is a watchdog on the implementation of ICCPR and ICESCR. มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน (ศขช.) เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร ตั้งขึ้นมาเพื่อทำงานในการปกป้องและส่งเสริม สิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชน และสิ่งแวดล้อม ศขช.เฝ้าระวังสถานการณ์ ตามกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และกติกาสากลว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

Tuesday, December 16, 2014

Civil Society Statement Supporting the Case Filed Against the Cambodian
Ruling Elite in the International Criminal Court

12 December 2014

The undersigned civil society organisations from across the world wish to express strong support for the case filed against the Cambodian Ruling Elite at the International Criminal Court on 7th October 2014 (the“Communication”).

The case alleges that the widespread and systematic crimes that have accompanied the Ruling Elite’s massive land grabbing campaign amount to a crime against humanity. The land grabbing, which has been perpetrated for well over a decade, has affected an estimated 770,000 people. We come together to urge the Office of the Prosecutor to initiate a Preliminary Examination with a view to opening a full investigation.

Monday, December 8, 2014

ภาคประชาสังคมออกแถลงการณ์ ขอให้เจ้าพนักงานตำรวจตรวจสอบข้อเท็จจริงและติดตามดำเนินคดีกรณีคุกคามนักต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชน กรณีเหมืองแร่นบพิตำ-นครศรีธรรมราช


Tuesday, November 25, 2014

ประมงพื้นบ้านร้องศาลปกครองระยองขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล กรณีฟ้อง6หน่วยงานรัฐละเลย
แก้ปัญหาน้ำมัน
บริษัทพีทีทีจีซีรั่วลงทะเลระยองเมื่อเดือนกรกฎาคม 2556

Sunday, November 16, 2014

เชิญชมเรื่องราวการต่อสู้ของชาวบ้านกลุ่มรักษ์บ้านแหง อ.งาว จ.ลำปาง
กับการคัดค้านเหมืองแร่ถ่านหินลิกไนต์


Saturday, November 15, 2014

NGOs' Joint Statement on Concerns about Procedures for Notification, Prior Consultation and Agreement (PNPCA) for Don Sahong Hydropower Project.

Friday, November 14, 2014

การไต่สวนมูลฟ้องคดีที่เกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์และหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ในวันที่ 17 พ.ย. ถือเป็นคดีอาญาร้ายแรงที่สุดในประเทศไทย / แอนดี้ ฮอลล์ ผู้วิจัยฟินน์วอช



ทนายเผย ทหารอุดรให้ขออนุญาตก่อนจัดประชุมชี้แจงคดีชาวบ้าน / (ประชาไท)

วันที่ 11 พ.ย. 57 ที่ผ่านมา ที่จ.อุดรธานี ในการประชุมผู้ฟ้องคดีกรณีเขื่อนไซยะบุรีและเขื่อนดอนสะโฮงระหว่าง เจ้าหน้าที่ทหาร 4 นาย และตำรวจสันติบาล 3 นาย ได้เข้ามาสอบถาม พร้อมเชิญทนายความทำหนังสือขออนุญาตจัดประชุม โดยทนายความระบุว่าไม่เห็นความจำเป็นว่าการประชุมคดีระหว่างทนายความและลูกค้าจะต้องมีการขออนุญาตแต่อย่างใด 

โดยนางสาวส.รัตนมณี พลกล้าทนายความ เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ในการประชุมชาวบ้านกรณีเหมืองแร่ลิกไนต์ที่ลำปาง ซึ่งมีการประชุมชี้แจงเพื่ออธิบายถึงกฎอัยการศึกให้กับชาวบ้าน เนื่องจากชาวบ้านต้องไปยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเชียงใหม่กรณีเพิกถอนใบอนุญาตใช้พื้นที่ป่า ตนและชาวบ้านก็ถูกเจ้าหน้าที่ทหารเรียกไปรายงานตัว โดยอ้างว่า ทนายและเอ็นจีโอเข้าไปปลุกระดมให้ชาวบ้านต่อต้านกฎอัยการศึก ซึ่งไม่เป็นความจริง  ข่าวมีรายละเอียดดังนี้.....

Wednesday, November 12, 2014

เครือข่ายปชช. 8 จว. ลุ่มน้ำโขงแถลงแสดงจุดยืนต่อการประชาคมเขื่อนดอนสะโฮง ท้วงผู้เสียหายไม่ถูกเชิญเข้าร่วม แนะกรมน้ำรื้อกระบวนการทำใหม่


วันที่ 12พ.ย.57 ที่จ.อุดรธานี เครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง ออกแถลงการณ์แสดงจุดยืนต่อกระบวนการปรึกษาหารือโครงการเขื่อนดอนสะโฮง จัดโดยกรมทรัพยากรน้ำ ซึ่งประชาชนผู้ที่จะได้รับความเดือดร้อนโดยตรงจากโครงการเขื่อนแม่น้ำโขง ไม่ได้รับเชิญเข้าร่วมการปรึกษาหารือแต่อย่างใด  แถลงการณ์มีใจความดังนี้...

Monday, November 10, 2014

สมัชชาคนจนกรณีเขื่อนปากมูลแถลง หยุดสร้างเขื่อนดอนสะโฮง หยุดเข่นฆ่าคนหาปลาลุ่มน้ำโขง


วันที่ 9 พ.ย. สมัชชาคนจน กรณีเขื่อนปากมูล ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 3 เรื่อง : หยุดสร้างเขื่อนดอนสะโฮง หยุดเข่นฆ่าคนหาปลา ลุ่มน้ำโขง ความว่า ในวันที่ 10 พ.ย. สำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRCS) และ สำนักบริหารจัดการลุ่มน้ำโขง กรมทรัพยากรน้ำ (สบข.) ร่วมกับ สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 11 กรมทรัพยากรน้ำ (สทภ. 11) จะจัดเวทีให้ข้อมูลโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำดอนสะโฮง สปป. ลาว ขึ้น ที่ ห้องประชุมพิมานทิพย์ (ชั้น 7) ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี ที่ดำเนินการอย่างเร่งรีบ จึงน่าเคลือบแคลงอย่างยิ่ง
ต่อการสร้างเขื่อนดอนสะโฮง และกระบวนการจัดเวทีให้ข้อมูลเขื่อนดอนสะโฮง ในครั้งนี้ พวกเรามีความเห็น ดังนี้ .......

Friday, November 7, 2014

ฟ้อง อธิบดีป่าไม้ ผวจ.ลำปาง ออกใบอนุญาตใช้ป่าผิดกม. เอื้อบ.เหมืองลิกไนต์ ไม่สนชุมชนค้าน


กลุ่มรักษ์บ้านแหง ฟ้องอธิบดีกรมป่าไม้-ผวจ.ลำปาง-รมว.ทรัพยากรฯ เหตุออกใบอนุญาตใช้พื้นที่ป่า-อ้างรายงานประชาคมเท็จเอื้อกิจการเหมืองแร่ลิกไนต์ ขัดข้อกฎหมาย-ชุมชนยังต้าน.......

Friday, October 31, 2014

Tuesday, October 28, 2014

Mining Company must withdraw threat of legal actions against community leaders


(FORUM-ASIA : Bangkok, 28 October 2014) Defamation charges against community based human rights defenders who exposed alleged human rights abuses by Tungkum Company Limited (TKL) should be dropped immediately, the Asian Forum for Human Rights and Development (FORUM-ASIA) said today. The Order Announcement of Mr. Surapan Rujichaiwat will be held on 29 October at 13.30 pm in the Phuket Provincial Court to rule whether or not to proceed with the case. Meanwhile Ms. Porntip Hongchai is due to stand trial on 3 November 2014 in the same court. If convicted, they could face imprisonment for up to two years and a fine of 200,000 baht (approximately 6,150 USD)........

Sunday, October 26, 2014

ชาวกัมพูชาประท้วงบริษัทน้ำตาลยักษ์ใหญ่จากไทยไม่จริงใจในการแก้ไขข้อพิพาทด้านที่ดินที่เรื้อรังในกัมพูชา



 (25 ต.ค. 57) เกาะกงกัมพูชา – กว่าแปดปีที่ผ่านมาเกษตรกรในสามหมู่บ้าน กว่า 300 คนในจังหวัดเกาะกง กัมพูชา ต้องถูกยึดที่ดินไปอย่างผิดกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อนำไปทำแปลงปลูกอ้อยขนาดเกือบ 1.2 แสนไร่ ซึ่งเจ้าของกิจการเป็นบริษัทในกัมพูชาที่มีอิทธิพลทางการเมือง และอยู่ใต้การควบคุมของบริษัทน้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) (เคเอสแอล) ซึ่งเป็นบริษัทน้ำตาลยักษ์ใหญ่จากไทย และมีการจัดทำสัญญาซื้อขายเป็นการเฉพาะกับบริษัท Tate & Lyle PLC จากสหราชอาณาจักร ในปัจจุบัน เคเอสแอลได้พยายามแก้ไขข้อพิพาทย้อนหลัง โดยจัดประชุมกับชาวบ้าน 20 กว่าคนในวันนี้......

Monday, October 13, 2014

ชาวบ้านปากมูนยื่นหนังสือถึงผู้ว่าอุบลฯ ค้านปิดประตูเขื่อน ชี้ปัญหาคา 26 ปี กฟผ.ไม่เคยจริงใจแก้ปัญหา


Friday, October 10, 2014

นิติฯ ม.ทักษิณ ร่วม ภาคประชาสังคม-ยุติธรรมสงขลาลงนามเอ็มโอยูหนุนชุมชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมเปิดวิชาใหม่สร้างนักกฎหมายบริการสังคม 

Friday, September 26, 2014

ประมงพื้นบ้านระยอง ร้องศาลเว้นเก็บค่าธรรมเนียมฟ้องแพ่งพีทีทีจีซี เหตุน้ำมันรั่วทำรายได้สูญ ย้ำไม่ต้องการเพียงเงิน วอนเอกชน-หน่วยงานฟื้นทะเลยั่งยืน-ไม่สร้างภาพ


Thursday, September 4, 2014

กลุ่มคนรักษ์บ้านเกิดยื่นหนังสือถึงทหาร-ขรก. แจงไม่ร่วมประชุมทำเอ็มโอยูลดข้อขัดแย้งเหมืองแร่ทองคำ เหตุร่างฯไม่ผ่านการยอมรับของชาวบ้านผู้รับผลกระทบ


           ที่มาภาพ : กรุงเทพธุรกิจ http://bit.ly/1lFKG37

Sunday, August 10, 2014

‘นิติฯ ม.ทักษิณ’ จับมือ ‘ศูนย์ข้อมูลชุมชน’-หน่วยงานรัฐ ให้ความช่วยเหลือกฎหมายชุมชนใต้ ดึงนิสิตใกล้ชิดท้องถิ่น - อุดช่องว่างเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม


นิติฯ ม.ทักษิณ จับมือ ศูนย์ข้อมูลชุมชน’-หน่วยงานรัฐ ให้ความช่วยเหลือกฎหมายชุมชนใต้ ดึงนิสิตใกล้ชิดท้องถิ่น - อุดช่องว่างเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม

Thursday, June 12, 2014

ขีดจำกัดทางนิเวศและความเป็นธรรมในการเข้าถึงฐานทรัพยากร โลกของความเห็นต่างที่ไม่เคยถูกเคารพ



ขีดจำกัดทางนิเวศและความเป็นธรรมในการเข้าถึงฐานทรัพยากร
โลกของความเห็นต่างที่ไม่เคยถูกเคารพ

สันติภาพ ศิริวัฒนไพบูลย์
กลุ่มศึกษาสังคมนิยมธรรมชาติ

Developments in the World is just for Economic Growth หรือ การพัฒนาในโลกล้วนเป็นไปเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ คำกล่าวนี้ไม่เกินจริงเลย และผลพวงจากการพัฒนานั้นกลับทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำบนโลกมากขึ้น แถมยังต้องแลกมาด้วยการล้างผลาญทรัพยากรและหายนะของระบบนิเวศโลกอีก
เศรษฐีโลกเพียง 1% เป็นเจ้าของทรัพย์สินถึง 40% บนโลก ขณะที่คนอีก 50% ในระดับฐานล่างกลับถือครองทรัพย์สินรวมกันเพียง 1% เท่านั้น ทุกปีเศรษฐกิจโดยรวมของโลกเติบโตขึ้น มูลค่าทางเศรษฐกิจที่หมุนเวียนในระบบโลกล้วนเพิ่มมากขึ้น แต่เงิน รายได้ สินทรัพย์เหล่านั้นตกไปอยู่ที่ใคร ช่องว่างทางเศรษฐกิจและสังคมกลับถ่างกว้างขึ้นเรื่อยๆ นั่นย่อมชี้ให้เห็นถึงทิศทางการพัฒนาโลกที่ล้มเหลว
โลกเป็นระบบนิเวศเดียว (Global Ecosystem) ผลกระทบต่างๆ จากการบริโภค การทิ้งของเสีย การทำลายทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่คนทั้งโลกเผชิญร่วมกัน เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นทุกปี อุณหภูมิเฉลี่ยที่สูงขึ้น การขาดแคลนอาหาร การขยายตัวของทะเลทราย ขยะสารพิษและสารเคมีที่ไหลลงสู่มหาสมุทร การสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต ฯลฯ นี่คือปัญหาของคนทั้งโลกที่มีรากฐานมาจากความเหลื่อมล้ำและการกระจายการเข้าถึงทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรม คนที่รวยมากอาจจะรวยกว่ารายได้ประชาชาติของหลายๆ ประเทศรวมกัน ขณะที่คนจนส่วนใหญ่นับพันล้านคนบนโลกยอมทำทุกอย่างเพื่อปากท้อง
บริษัทที่มีรายได้มากที่สุดของโลกในปี 2013 (2556) อันดับที่ 1 คือ “Exxon Mobil” บริษัทสัญชาติอเมริกันที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติและน้ำมันปิโตรเลียม ปัจจุบัน Exxon Mobil ครองแชมป์บริษัทร่ำรวยที่สุดด้วยรายได้กว่า 502,300 ล้านเหรียญสหรัฐ อันดับที่ 2 “Shell” บริษัทยักษ์ใหญ่ลูกผสมระหว่างดัตช์และอังกฤษที่ดำเนินธุรกิจด้านพลังงานเช่นกัน Shell มีรายได้อยู่ที่ 492,000 ล้านเหรียญสหรัฐ[1] ซึ่งมากกว่าผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของไทยในปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ 474,686 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ Shell มีรายได้มากกว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศลาวถึง 70 เท่า (ในปี 2553 ลาวมี GDP ประมาณ 6,946 ล้านเหรียญสหรัฐ)[2]
ในระดับภูมิภาค ผลกระทบจากการพัฒนาเศรษฐกิจภายใต้ทุนนิยมโลกด้วยโครงการขนาดใหญ่ ได้กลายเป็นปมปัญหาข้ามพรมแดนและสร้างความขัดแย้งระหว่างประเทศ การตัดสินใจอนุมัติสร้างเขื่อนสาละวินเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าส่งขายให้จีนของรัฐบาลพม่าในเขตที่ตั้งกองกำลังไทใหญ่ อาจจะทำให้คนไทใหญ่หลายหมื่นคนต้องอพยพจากน้ำท่วมหมู่บ้าน ผู้คนเหล่านี้จะมีชะตาชีวิตเช่นไร เขาจะอพยพไปไหน หรือต้องจับปืนขึ้นมาต่อสู้อีกครั้ง ในประเทศไทยเองก็เป็นผู้ผลักดันสำคัญให้เกิดการสร้างเขื่อนไซยะบุรีกั้นแม่น้ำโขง ทั้งการให้เงินกู้นับแสนล้านบาทโดยธนาคารของไทย ดำเนินการก่อสร้างโดยบริษัทเอกชนของไทย จัดตั้งบริษัทในลาวโดยผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ก็เป็นคนไทย เพื่อขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตของประเทศไทย และในอีก 20 ปีข้างหน้า คาดว่าประเทศไทยจะใช้ไฟฟ้ามากถึง 50,000 เมกกะวัตต์ (ปัจจุบันเราใช้ไฟฟ้าอยู่ประมาณ 25,000 เมกกะวัตต์) นั่นเท่ากับว่าอัตราการใช้ไฟฟ้าของไทยจะเพิ่มขึ้นถึงเท่าตัวภายใน 20 ปี จากที่เคยมีไฟฟ้าใช้ครั้งแรกเมื่อปี 2427 หรือเมื่อ 130 ปีที่แล้ว ปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตอีก 20 ปีข้างหน้า อาจจะเท่ากับการผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนภูมิพลถึง 34 เขื่อน (เขื่อนภูมิพลผลิตไฟฟ้าได้ 737.5 เมกะวัตต์[3]) ทั้งหมดก็เพื่อการบริโภค การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการพัฒนา เท่านั้นหรือ? 
เขื่อนดอนสะฮง ไซยบุรี คอนพะเพ็ง และอีกหลายๆ เขื่อนที่กำลังจะเกิดขึ้นในแม่น้ำโขง จะส่งผลกระทบต่อการทำมาหากินในน้ำโขงและแม่น้ำสาขาของผู้คนกว่า 60 ล้านคน ในลุ่มน้ำโขง เพื่อแลกกับกระแสไฟฟ้าที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ ขณะที่ระบบนิเวศแม่น้ำโขงซึ่งได้รับการยกย่องว่ามีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก รองลงมาจากแม่น้ำอาเมซอน กำลังจะถูกทำลายจากการพัฒนา นั่นคือฐานทรัพยากรของคนระดับฐานล่างหลายล้านคนที่พึ่งพาสิ่งที่ธรรมชาติให้มา หรือการบริการของระบบนิเวศ (Ecosystem service)
โลกนี้กำลังพัฒนาไปสู่หนใด ความเห็นต่างของคนมากมายบนโลกที่เรียกร้องให้รัฐบาลแทบทุกประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศร่ำรวย เห็นความสำคัญกับการแก้ปัญหาสังคม ความเหลื่อมล้ำและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของโลก แต่ก็ไม่เคยถูกเคารพจากการพัฒนาเศรษฐกิจของโลกเลย กิจการยักษ์ใหญ่เช่นเหมืองแร่และปิโตรเลียม ยังเป็นผู้สนับสนุนและเป็นผู้อยู่เบื้องหลังนโยบายการพัฒนาของทุกรัฐบาลในโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศมหาอำนาจและคงจะเป็นเช่นนี้ต่อไปในอนาคต
ความเห็นต่างทางการเมืองของประเทศไทยจึงเป็นเรื่องไร้สาระในแง่มุมด้านนิเวศวิทยา รวมถึงการเปลี่ยนแปลงประเทศจากการรัฐประหารล่าสุดก็อาจจะไม่แตกต่างกัน หากไม่ให้ความสำคัญและพูดถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ สิทธิชุมชนและสิทธิของธรรมชาติอย่างจริงจัง ที่ดิน ผืนน้ำ ผืนป่า ระบบนิเวศ ยังถูกช่วงชิงไปจากชุมชนและธรรมชาติเพื่อตอบสนองการพัฒนาเศรษฐกิจ ดูเหมือนเศรษฐกิจจะจำเป็นเสมอในทุกสถานการณ์ ไม่ว่าสังคมการเมืองการปกครองจะเป็นอย่างไร ทุกอย่างยังต้องหลีกทางให้เศรษฐกิจ
กรณีท่อส่งน้ำมันจากเรือขนส่งน้ำมันดิบรั่วลงสู่ทะเลที่เกาะเสม็ดเมื่อต้นปีที่แล้ว จนป่านนี้ชาวประมงยังหาปลาไม่ได้ ทะเลที่นั่นปลายังไม่กลับมาให้จับ การดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังแก้ปัญหาไม่ตรงจุด การประเมินความเสียหายต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ และความเสียหายจากการละเมิดที่ต้องรีบทำให้เสร็จเพื่อส่งฟ้องผู้ก่อเหตุก็เหลืออายุความอีกเพียงแค่ 1 เดือน การเยียวยาชาวบ้านก็มีเพียงการจ่ายเงินช่วยเหลือเฉพาะหน้ารายละ 3 หมื่นบาท และห้ามเรียกร้องเพิ่มเติมอีกโดยบังคับให้ชาวบ้านเซ็นยินยอม จังหวัดเป็นธุระจัดการเรื่องนี้แทนบริษัท แผนการฟื้นฟูที่หน่วยงานรัฐเสนอมีอยู่ 3 เรื่อง คือ ปลูกปะการัง ทำปะการังเทียมและทำทุ่นผูกเรือ ใช้เงินเพียง 51 ล้านบาท ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับสาระสำคัญคือการจัดการบำบัดน้ำมันในทะเลแต่อย่างใดเลย งานนี้มีกรรมการหลายชุดจากหลายหน่วยงานราชการ เช่น กรมเจ้าท่า กรมประมง กรมควบคุมมลพิษ กรมทรัพยากรชายฝั่ง และสำนักงานจังหวัด แต่แทบไม่มีอะไรคืบหน้า ยังไม่มีการฟ้องร้องอะไรกับผู้ก่อเหตุที่เป็นเอกชนเลย ทั้งที่เอกชนรายนี้เป็นบรรษัทมหาชนยักษ์ใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ เป็นผู้ผูกขาดกิจการด้านพลังงานหลักของประเทศ มีผลกำไรนับแสนล้านบาท มีบริษัทในเครือนับร้อย
ความรับผิดชอบดูเหมือนจะมีเพียงการโฆษณาเชิญชวนให้คนมาเที่ยวเกาะเสม็ด ชายหาดสะอาดแล้ว เล่นน้ำทะเลได้ กระตุ้นรายได้จากการท่องเที่ยว แต่ปัญหาไม่ได้เกิดเฉพาะแต่บริเวณที่น้ำมันรั่วและคราบน้ำมันบนหาดเท่านั้น คราบน้ำมันที่แพร่กระจายกินบริเวณกว้างกว่าที่เป็นข่าว รวมทั้งที่จมลงสู่ก้นทะเล ทำให้ชาวประมงและกิจการต่อเนื่องหลายพันครอบครัวได้รับผลกระทบจากการประกอบอาชีพ ต้องใช้เวลาฟื้นฟูอีกหลายปีและการทำความสะอาดใต้ท้องทะเลก็ไม่ควรปล่อยให้เป็นภาระของธรรมชาติในการบำบัดตัวเอง เพราะยังมีเทคโนโลยีและวิทยาการฟื้นฟูที่สามารถนำมาใช้ได้ แต่ต้องจ่ายและอาจจะต้องจ่ายแพง แต่ก็เป็นไปตามหลักสากล คือ ผู้ก่อมลภาวะเป็นผู้จ่าย (Polluters Pay Principle: PPP) นี่คือความรับผิดชอบและธรรมาภิบาลของบรรษัทที่ต้องแสดงให้สังคมได้เห็น ถึงแม้ว่าประโยชน์อันเกิดต่อเศรษฐกิจโดยรวมของชาติจากบริษัทอาจจะมากมายมหาศาล แต่การเข้าถึงประโยชน์นั้นของประชาชนที่ต้องใช้น้ำมันในราคาแพงยังเป็นคำถามใหญ่ ยิ่งเมื่อวิเคราะห์ถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและต่อระบบนิเวศสำหรับกิจการสาธารณะของรัฐที่เพิ่งจะแปรรูปไปเมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว ยิ่งทำให้เห็นว่า “ผลกำไรของบริษัทและผู้ถือหุ้นสำคัญที่สุด”
จังหวัดระยองอาจจะสร้างรายได้ให้กับประเทศมากกว่าจังหวัดใดๆ เพราะมีอุตสาหกรรมกลั่นน้ำมัน โรงแยกก๊าซ และอุตสาหกรรมเคมีจากผลพลอยได้ดังกล่าว แต่คุณภาพชีวิตของคนระยองกลับต่ำกว่ามาตรฐาน คนพื้นเพเดิมอาจจะอพยพไปอยู่ที่อื่น คนงานจากทั่วประเทศมาใช้ชีวิตและทำงานที่นี่ ยอมเสี่ยงที่จะอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ย่ำแย่เพื่อแลกกับรายได้เลี้ยงครอบครัว นั่นยิ่งตอกย้ำให้เห็นว่า ความมั่งคั่งร่ำรวยได้ผ่องถ่ายไปสู่เจ้าของกิจการไม่กี่คนซึ่งใช่ชีวิตอย่างสบายอยู่ที่อื่น อันที่จริงก็คือคน 1% ที่ได้เคยกล่าวไว้ 
ความเห็นต่างและเสียงของประชาชนมากมายในประเทศนี้ยังเป็นเพียงเสียงเล็กๆ และไม่เคยถูกเคารพ เสียงของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากเหมืองแร่ โครงการเขื่อน การจัดการน้ำขนาดใหญ่ การถูกไล่รื้อออกจากที่ดิน ล้วนถูกปล่อยปละละเลยมานานหลายสิบปี เสียงเหล่านี้อันที่จริงคือเสียงที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติและระบบนิเวศมากที่สุด ชาวบ้านจากปากมูน ราศีไศล ที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนมา 20 ปี เขาเรียกร้องแทนชุมชน ธรรมชาติ ระบบนิเวศ และฝูงปลาที่เคยแหวกว่ายอย่างอิสระ ไม่ว่าจะผ่านมาแล้วเกือบ 20 รัฐบาล ผ่านรัฐประหารมาหลายครั้ง แต่เขื่อนก็ยังตั้งตระหง่านขวางแม่น้ำมูนอยู่ ทั้งๆ ที่ข้อมูลจากทุกสำนักวิชาการต่างบอกว่าโครงการนี้ไม่คุ้มค่าและส่งผลกระทบในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะนิเวศวิทยาและเศรษฐกิจสังคมท้องถิ่น 
ต้องใช้เงินอีกมากมายเพียงใดในการทำความสะอาดลำห้วยคลิตี้ที่มีตะกั่วนับหมื่นๆ ตันจมอยู่ใต้ลำห้วย ขณะที่ชาวบ้านไม่มีทางเลือกและต้องใช้น้ำจากลำห้วยนั้น
บนภูเขาใกล้หมู่บ้านนาหนองบง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย มีบ่อเก็บกากแร่ซึ่งปนเปื้อนด้วยไซยาไนด์ แคดเมียม สารหนู แมงกานีส นับล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งรอคำตอบจากเหมืองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าจะจัดการกับมันอย่างไร เพราะที่ผ่านมาสร้างปัญหามาโดยตลอดทั้งบ่อเก็บกากแร่พัง โลหะหนักปนเปื้อนน้ำผิวดิน ใต้ดิน ชาวบ้านเจ็บป่วยด้วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงและมีไซยาไนด์ในเลือดเกินมาตรฐาน ข้าวปลาอาหารตามธรรมชาติกินไม่ได้ แต่ประทานบัตรก็ยังไม่ถูกระงับ ล่าสุดมีการนำกองกำลังติดอาวุธนอกกฎหมายหลายร้อยมารุมทำร้ายชาวบ้านที่ไม่ยอมให้รถขนแร่ผ่านชุมชนจนบาดเจ็บหลายสิบคน      
เราไม่สามารถพัฒนาอย่างไร้ขีดจำกัดได้ เพราะระบบนิเวศ ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมมีขีดจำกัด ภาระที่ธรรมชาติจะฟื้นฟูและบำบัดตนเองนั้นเป็นเรื่องยากในสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะสิ่งแปลกปลอมที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นนั้นมีรูปแบบและความพิเศษที่หลากหลายเกินกว่าพลังธรรมชาติจะจัดการได้ในเวลาอันสั้น มันจึงวนเวียนอยู่ในระบบนิเวศจากแหล่งกำเนิดหนึ่งไปสู่อากาศ สู่ดิน น้ำ อาหาร และมนุษย์ มันอาจจะวนเวียนซ้ำแล้วซ้ำเล่าหลายชั่วคน และสารเหล่านี้ก็ไปสร้างความผิดปกติ และความเจ็บป่วยกับทุกชีวิตที่อยู่ในเส้นทางของมัน
โลกของการแบ่งปันจะไม่มีทางเกิดขึ้นด้วยการเอาตัวเลขรายได้รวมของประเทศหารด้วยจำนวนประชากรเพื่อเอาไว้โชว์ตัวเลขรายได้เฉลี่ยสวยๆ เพราะรายได้อันเป็นเงินหรือสินทรัพย์จริงๆ ไม่ได้ถูกแบ่งมาด้วย คนที่มีเงินอยู่แสนล้านจากการปล้นทรัพยากรในนามการพัฒนาไปจากคนหลายล้านก็ยังมีเงินนั้นอยู่ในธนาคาร แต่คนที่ยังออกเรือหาปลาและจับปลาไม่ได้ก็ยังต้องอดมื้อกินมื้ออยู่ต่อไป การเมืองและเกมแห่งอำนาจนั้นโหดร้ายเสมอในระบอบทุนนิยมโลก ไม่ว่าชนชั้นปกครองจะได้อำนาจมาด้วยวิถีทางใด แต่เมื่อยังอยู่ในวังวนของนโยบายการพัฒนาแบบเดิม ฟังข้อมูลและเสียงของพ่อค้า นายทุน ข้าราชการอยู่เช่นเดิม ก็ไม่มีทางที่จะแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำและความเป็นธรรมได้..      



[1] World’s Top 10 Richest Companies for the Year 2013. http://thumbsup.in.th/2013/10/worlds-top-10-richest-companies-of-the-year-2013-infographic/
[2] รายชื่อประเทศเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (ราคาตลาด). http://th.wikipedia.org
[3] ข้อมูลกำลังการผลิตไฟฟ้าเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก. http://web.ku.ac.th/king72/2521/king51.htm