(สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม) ภารณี สวัสดิรักษ์ นักวิชาการด้านผังเมืองชี้ร่
วันที่ 7 ส.ค. ที่ผ่านมา เครือข่ายประชาชนภาคตะวั นออกจากหลายพื้นที่ กว่า 50 คน เข้ายื่นหนังสือคัดค้านร่างผั งเมืองรวมจังหวัดระยอง ต่อรองอธิบดีกรมโยธาธิการและผั งเมือง “นายโอฬาร ศักยโรจน์กุล” ด้วยเนื้อหาหลายประเด็นที่ชี้ ให้เห็นว่าร่างฉบับนี้เอื้อพื้ นที่ต่อการลงทุนของภาคอุ ตสาหกรรม โดยเฉพาะการเปิดโอกาสให้ผู้ ประกอบการนำโฉนดที่ดินมาแสดงเพื ่อกำหนดเป็นพื้นที่สีม่วง หรือพื้นที่จัดตั้งนิคมอุ ตสาหกรรมได้
โดย “นายบุญยิ่ง วงษ์ลิขิต” ตัวแทนกลุ่มคนบ้านค่ายรักษ์บ้ านเกิด ได้ตั้งคำถามต่อรองอธิบดีว่ าเหตุใดร่างผังจังหวัดระยองจึ งกำหนดพื้นที่อุตสาหกรรมท่ ามกลางพื้นที่อนุรักษ์ ชนบทและเกษตรกรรม อีกทั้งกำหนดแนวเขตพื้นที่อุ ตสาหกรรม (สีม่วง) โดยใช้แนวเขตโฉนดที่ดิ นของเอกชนเพียงบางราย แต่กลับไม่สนใจโฉนดที่ดิ นของเกษตรกรจำนวนมากที่ทำกิ นในพื้นที่โดยรอบ
สอดคล้องกับเสียงของนักวิ ชาการด้านผังเมือง “นางภารณี สวัสดิรักษ์” เครือข่ายวางแผนและผังเมืองเพื่ อสังคม ตั้งข้อสังเกตว่ าการกำหนดแนวเขตพื้นที่อุ ตสาหกรรมตามโฉนดที่ดินของผู้ ประกอบการภาคเอกชนเป็นสิ่งที่ ไม่เคยเห็นมาก่อนในการจัดทำผั งเมือง และไม่สอดคล้องกับหลักวิชาการ
“มันคือการวางรากฐานของความไม่ เป็นธรรมในกระบวนการวางผังเมือง ไม่ว่าพื้นที่ตรงนั้นเป็นอย่ างไร แต่เราเริ่มต้นฐานคิดที่ว่าถ้ าเอกชนมีโฉนดแล้วไปประสานกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่ งประเทศไทย (กนอ.) แล้วกำหนดพื้นที่สีม่วงให้ อีกหน่อยชาวบ้านแย่แน่เลย เพราะนายทุนสามารถกว้านซื้อพื้ นที่และมาแสดงเจตจำนงกันหมด และจะเห็นว่าในรายงานไม่มี การอธิบายพื้นที่ของชาวประมง หรือพื้นที่การเกษตรอินทรีย์ ในผังเลย แต่จะมีการอธิบายที่ดินของภาคอุ ตสาหกรรม ซึ่งมันเป็นการเหลื่อมล้ำในหลั กคิด”
ทั้งนี้ยังมีอีกหนึ่งความกั งวลจาก “นายอุดม ศิริภักดี” ตัวแทนกลุ่มรักษ์สิ่งแวดล้อมบ้ านแลง แม้ว่าผังเมืองในพื้นที่ ของตนจะกำหนดให้เป็นพื้นที่สี ขาวทแยงเขียว หรือที่ดินประเภทอนุรักษ์ ชนบทและเกษตรกรรม แต่กลับมีข้อยกเว้นให้ สามารถสร้างโรงงานได้บางประเภท อาทิ โรงไฟฟ้าที่ไม่ใช่ถ่านหิน โรงงานบำบัดน้ำเสีย หรือ โรงงานกำจัดมูลฝอยรวมของชุมชน ที่สำคัญเขตติดกันทางฝั่งตะวั นตกยังเป็นพื้นที่สีชมพูประเภท ช.1 พื้นที่ชุมชนที่อนุญาตให้สร้ างโรงงานที่ไม่มีความเสี่ยงสู งได้ จึงเกรงว่าอาจส่งผลกระทบมาถึงชุ มชนของตนที่เป็นแหล่งต้นน้ ำสำหรับบริโภค และพื้นที่เกษตรกรรม
“รอบ ๆ เป็นพื้นที่ ช.1 สีชมพู มันอนุญาตให้โรงงานบางประเภทสร้ างได้ ซึ่งมันควรจะยกเลิก ถ้าประกาศไปตามนี้ชาวบ้านต้ องได้รับผลกระทบ เพราะทิศทางลม ภูมิศาสตร์ มลพิษมันต้องข้ามยังพื้นที่ ของเรา”
จากปัจจัยสำคัญข้างต้นทำให้นั กวิชาการด้านผังเมืองเห็นว่ารั ฐไม่ได้มีความจริงใจในการลดพื้ นที่อุตสาหกรรมในจังหวั ดระยองจริง แม้ที่ดินดังกล่าวจะไม่มีศั กยภาพในการรองรับได้อีกต่อไปก็ ตาม ทั้งนี้ก่อนที่ผังเมืองจะถู กประกาศใช้ก่อนสิ้นปีนี้ จึงอยากเห็นการปรับลดพื้นที่อุ ตสาหกรรมลง รวมถึงการกำหนดอายุวันสิ้นสุ ดของผังสีม่วงให้ชัดเจน
“เราต้องยอมรับความเป็นจริง ทรัพยากรที่ดินมันถูกใช้เกิ นความสมดุลไปแล้ว เพราะฉะนั้นในการวางผังตรงนี้ มันต้องอยู่บนหลักคิดที่ว่ าทำอย่างไรจะค่อย ๆ คืนความสมดุลกลับมาให้เขามากที่ สุด”
“การคืนความสมดุลคือการไม่ ขยายตัวของอุตสาหกรรม แล้วผังเองยังต้องกล้าคิดด้วยว่ าผังเมืองที่เป็นสีม่วงจะต้ องใช้ไปได้ไม่ถึงกี่ปี เพราะว่าอุตสากรรมมันต้องมีอายุ ของมัน คือจะต้องคุย, ทำงานวิชาการ, บวกมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ ถ้ามาบตาพุดคุ้มทุนอีก 50 ปี แสดงว่าสีม่วงปีที่ 50 เราจะกลับมาเป็นเขียวแล้วนะ ไม่งั้นกลายเป็นว่าผังไม่บังคั บย้อนหลัง เมื่อผังนี้หมดอายุไปอุ ตสาหกรรมอื่นก็กลับมาอีก”
นางภารณียังกล่าวเสริมด้วยว่ าไม่เพียงแค่จังหวัดระยองเท่านั ้นที่น่าเป็นห่วง แต่ลักษณะเช่นนี้ยังมีให้เห็นอี กหลายแห่ง ที่รุนแรงกว่าคือในพื้นที่ ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่กำหนดให้พื้นที่สีเขี ยวสามารถมีอุตสาหกรรมที่ใช้ สารเคมีบางประเภทได้ หรือ อ.เทพา จังหวัดสงขลาที่แต่เดิมเป็นพื้ นที่สีเขียวก็ถูกเสนอให้ ถอดถอนเพื่อสามารถสร้างโรงไฟฟ้ าถ่านหินได้ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนสนับสนุนให้ เกิดอุตสาหกรรมในทุกพื้นที่
“ผังเมืองถูกครอบงำด้วยระบบทุน แทนที่จะเป็นหลักคิดการจัดพื้ นที่เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ อย่างเหมาะสม หลักคิดเอานโยบายเป็นตัวตั้ง และไม่เอาความคิดของการรองรั บของพื้นที่ และหลักความเป็นธรรมมาใช้ ในที่สุดแล้วเราจะไม่ได้ผังเมื องที่เป็นไปตามเจตนารมณ์ ของการทำผัง เราจะได้ผังเมืองที่เป็ นเจตนารมณ์ของผู้ลงทุนด้านเดี ยวด้วย อยากจะฟันธงอย่างนี้” นักผังเมืองกล่าวทิ้งท้าย
ขวัญชนก เดชเสน่ห์ สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม รายงาน…
No comments:
Post a Comment