เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2554 ศาลปกครองสูงสุด กรุงเทพมหานคร ได้ออกนั่งพิจารณาคดีครั้งแรก หลังจากกำหนดสิ้นสุดแสวงหาข้อเท็จจริงไปเมื่อหลายเดืือนก่อน โดยผู้ฟ้องคดีทั้งที่เป็นประชาชนในอำเภอจะนะ และเจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน รวมทั้งประชาชนผู้คัดค้านโครงการท่อก๊าซธรรมชาติและโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ไทย-มาเลเซีย จำนวน 50 คน จากอำเภอจะนะจังหวัดสงขลา ได้เหมารถบัสมาเพื่อเข้าฟังการนั่งพิจารณาคดีครั้งนี้
ศาลปกครองสูงสุดได้ออกนั่งพิจารณา เมื่อเวลา 13 นาฬิกา โดยมีผู้ฟ้องคดีและประชาชนจากอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา พร้อมทนายความจากสภาทนายความ นายสุรชัย ตรงงาม และ นางสาวส.รัตนมณี พลกล้า ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ฟ้องคดี มาร่วมฟังการพิจารณาคดี โดยฝ่ายสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้ถูกฟ้องคดี ไม่มาศาล
ศาลสรุปข้อเท็จจริงในสำนวนคดีให้ฟัง และแจ้งว่าผู้ฟ้องคดีได้ยื่นคำแถลงการต่อศาลเป็นเอกสาร และขออนุญาตแถลงการด้วยวาจา ศาลจึงอนุญาตให้ผู้แทนของผู้ฟ้องคดีแถลงการณ์ด้วยวาจา โดย นางสุไรด๊ะ โต๊ะหลี ผู้ฟ้องคดีที่ 4 เป็นตัวแทนของผู้ฟ้องคดีแถลงต่อศาลด้วยวาจา
นางสุไรด๊ะ แถลงยืนยันว่า ผู้ชุมนุมใช้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าสลายการชุมนุม ผู้ชุมนุมกำลังพักรอผลการเจรจาด้วยการรับประทานอาหาร และบางส่วนทำพิธีละหมาด แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจกลับเข้ามาสลายการชุมนุมโดยไม่มีการบอกกล่าวหรือแจ้งเตือน ถือเป็นการละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีที่มาชุมนุม ทำให้เกิดความเสียหายต่อสิทธิเสรีภาพ และทำให้พวกตนได้รับความเดือดร้อนจากการถูกดำเนินคดี ด้วยการตามจับตัว และต้องเข้าต่อสู้คดีอาญา ต้องไปศาลเพื่อฟังการพิจารณาคดีเป็นเวลาเกือบ 2 ปี ซึ่งต่อมาทั้งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ได้มีคำพิพากษายกฟ้องจำเลยทั้งหมด
นอกจากนี้ สุไรด๊ะยังแถลงเพิ่มเติมว่า การชุมนุมดัวกล่าวเพื่อให้มีการชะลอโครงการหรือยกเลิกโครงการ แต่เมื่อการชุมนุมได้สำเร็จเพราะถูกละเมิดสะลายการชุมนุมเสียก่อน ทำให้ภายหลังโครงการได้ก่อสร้างจนแล้วเสร็จ และปรากฏว่า สิ่งที่ประชาชนวิตกกังวลและคัดค้านก็ส่งผลให้เห็น เช่น การเกิดปัญหาเรื่องในลำน้ำตาย กลิ่นเหม็นและเสียงดังจากระบบการผลิต
ตุลาการเจ้าของสำนวนได้ให้ตุลาการผู้แถลงคดี แถลงการต่อศาลด้วยวาจา โดยอนุญาตให้คู่ความและบุคคลอื่นนั่งฟังคำแถลงการณ์ได้ โดยตุลาการผู้แถลงคดีแถลงต่อศาลว่า ที่ศาลปกครองสงขลาพิจารณาคดีเกี่ยวกับการสลายการชุมนุมโดยกำหนดให้มีการชด ใช้ค่าเสียหายจากการสลายการชุมนุมนั้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว ศาลปกครองสงขลามีอำนาจพิจารณาพิพากษา และเห็นว่าที่ผู้ถูกฟ้องคดีอุทธรณ์ว่าการชุมนุมของผู้ชุมนุมในวันที่ 20 ธันวาคม 2545 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่สงบและมีอาวุธนั้น ตุลาการผู้แถลงคดีเห็นว่า ลูกตะกั่วถ่วงอวน หนังสติ๊กสามง่าม มีดสะปาต้า แม้เป็นอาวุธโดยสภาพ แต่มีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ชุมนุม จึงเชื่อว่าเป็นเรื่องของเจตนาของแต่ละบุคคลไม่ใช่เจตนาร่วม ส่วน กรรไกร และไม้คันธง ไม่ถือเป็นอาวุธโดยสภาพ และมีการนำมาใช้ต่อเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าสลายการชุมนุมแล้ว จึงเป็นเจตนาของแต่ละบุคคล ไม่ใช่มีเจตนานำมาใช้เป็นอาวุธ เมื่อผู้ชุมนุมหยุดรอการเจรจาโดยสงบ บางส่วนนั่งรับประทานอาหาร บางส่วนละหมาด แล้วเจ้าหน้าที่ตำรวจกลับเข้าปลักดันสลายการชุมนุม จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพในการชุมนุม ที่ศาลปกครองสงขลาพิพากษาให้ชดใช้ค่าเสียหายคนละ 10,000 บาท ถือว่าสมควรแก่เหตุแห่งพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดที่มาีต่อความเสีย หายต่อสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมและความเสียหายทางจิตใจแล้ว
ตุลาการเจ้าของสำนวนแจ้งต่อผู้ฟ้องคดีว่า คดีเสร็จการพิจารณา และจะมีคำพิพากษาคดีหลังจากนี้ โดยจะส่งคำพิพากษาให้ศษลปกครองสงขลาอ่านคำพิพากษาต่อไป
คดีนี้ สืบเนื่องมาจาก ประชาชนและเจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชนผู้คัดค้านโครงการท่อส่งก๊าซและโรง แยกก๊าซธรรมชาติ ไทย-มาเลเซีย ได้ร่วมกันจัดให้มีการชุมนุมขึ้น ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อจะไปยื่นหนังสือคัดค้านโครงการต่อ ทักษิณ ชิณวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ในวันที่ 21 ธันวาคม 2545 เนื่องจากทราบว่าจะมีการมาประชุมรัฐมนตรีสัญจร ที่โรงแรมเจมีในวันดังกล่าว โดยผู้ชุมนุมได้มีการประสานงานกับตัวแทนของรัฐบาล เื่ืแจ้งวันเวลาการเดินทาง รูปแบบการเดินทาง เส้นทาง และจุดหมายที่จะไปรอยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี โดยได้มีการเดินทางจากอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ในวันที่ 20 ธันวาคม 2545 เวลาบ่าย แล้วเดินทางมาจนถึงบริเวณวงเวียนน้ำพุ ถนนจุติ-บุญสูงอุทิศ แต่ไม่สามารถเดินทางต่อไป ณ สวนหย่อม ข้างอาคารจอดรถโรงแรมเจบี เพื่อรอยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีในวันที่ 21 ธันวาคม 2545 ตามที่กำหนดนัดหมายไว้ได้
ผู้ชุมนุมเดินทางถึงจุดดังกล่าว เวลาประมาณ 19 นาฬิกา พบว่า เส้นทางถูกปิดกั้นไว้ด้วยแผงเหล็กและกองกำลังตำรวจ ต่อมาตัวแทนของรัฐบาลซึ่งเป็นคนเดียวกับที่ประสานงานการมาชุมนุมได้เข้ามา หารือ และแจ้งให้รอประมาณ 1 ชั่วโมง ผู้ชุมนุมจึงได้แยกย้ายกันนั่งรับประทานอาหาร และละหมาดกันในบริเวณดังกล่าว โดยสงบ
ระหว่างการรอผลการเจรจาดังกล่าวยังไม่ครบกำหนดเวลา กลับปรากฏว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตั้งแถวแล้วเข้าผลักดันประชาชนด้วยกำลังและกระบอง จนกระทั่งผู้ชุมนุมต้องสลายการชุมนุม
โดยในการนี้ ผู้ชุมนุมที่เป็นเจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชนถูกจับกุม ณ ที่เกิดเหตุทั้งสิ้น 12 คน หลังจากนั้น ประชาชนผู้มาร่วมชุมนุมถูกออหมายจับและถูกจับดำเนินคดีอีก 22 คน รวมถูกดำเนินคดีอาญาทั้งสิ้น 34 คน แต่ผลคำิพิพากษาของศาลจังหวัดสงขลา และศาลอุทธรณ์ พิพากษายกฟ้องจำเลยทั้งหมด และระบุว่า การสลายการชุมนุมไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในระหว่างการต่อสู้คดีอาญา เมื่อปลายปี 2546 ผู้ชุมนุมรวม 30 คน จึงได้ร่วมกันฟ้องสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้รับผิดต่อความเสียหายจากการถูก ละเมิดสิทธิเสรีภาพในการชุมนุม เป็นเงินคนละ 20,000 บาท และการที่ถูกทำร้ายร่างกายและทำลายทรัพย์สินต่อศาลปกครองสงขลา แต่ศาลปกครองสงขลารับคำฟ้องเฉพาะผู้ฟ้องคดีที่ 1 ถึงที่ 24 กรณีความเสียหายต่อเสรีภาพในการชุมนุม ส่วนความเสียหายจากการทำร้ายร่างกายและทำลายทรัพย์สินของผู้ฟ้องคดีที่ 25 ถึงที่ 30 ศาลเห็นว่าเป็นเรื่องในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา จึงได้มีการแบกไปฟ้องต่อศาลแขวงสงขลาเป็นคดีแพ่ง นอกจากนี้ ผู้ชุมนุมยังได้ร่วมกันฟ้องคดีอาญาต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้สั่งให้มีการสลาย การชุมนุมและผู้ปฏิบัติการสลายการชุมนุม เพื่อให้รับโทษอาญาในข้อหาปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบอีกด้วย
ซึ่งผลของคดีปกครอง ณ ศาลปกครองสงขลา ศาลปกครองสงขลาพิพากษาว่า คำสั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสลายการชุมนุมนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมา่ย ผู้ชุมนุมได้ใช้เสรีภาพในการชุมนุมตามรัฐธรรมนูญ สำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงต้องชดใช้ค่าเสียหายให้ผู้ฟ้องคดีรวม 24 ราย เป็นเงินคนละ 10,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันทำละเมิดจนกว่าจะชำระเสร็จ
ต่อมา สำนักงานตำรวจแห่งชาติอุทธรณ์คำิพิพากษาของศาลปกครองสงขลาต่อศาลปกครองสูง สุด ผู้ฟ้องคดีไม่อุทธรณ์ แล้วศาลปกครองสูงสุดได้นัดนั่งพิจารณาคดีครั้งแรกในวันนี้
ส่วน คดีศาลแขวงสงขลาศาลได้สืบพยานโจทก์จำเลยจนเสร็จแล้ว แต่ยังไม่ออกคำพิพากษา โดยกำหนดให้รอผลการฟ้องคดีอาญาที่ผุ้ชุมนุมฟ้องเจ้าหน้าที่่ตำรวจ
สำหรับ คดีอาญาที่ผู้ชุมนุมฟ้องเจ้าหน้าที่ตำรวจนั้น ศาลได้มีคำสั่งรับฟ้องเจ้าหน้าที่ตำรวจรวม 6 นาย ซึ่งรวมทั้งพล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติในขณะนั้น เป็นจำเลยที่ 1 ขณะนี้คดีอยู่ระหว่างการสืบพยานโจทก์ โดยเพิ่งสืบพยานโจทก์ได้เป็นปากที่ 3 และยังมีการกำหนดสืบพยานต่อเนื่องทุกเดือนๆละ 3-4 วัน ไปจนถึงเดือนมีนาคม 2555
นับว่ากรณีนี้เป็นกรณีแรกของประเทศไทย ในการฟ้องร้องเพื่อรับรองสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมของประชาชน และเชื่อว่าคำพิพากษาคดีนี้จะสร้างบรรทัดฐานทั้งในส่วนของการใช้เสรีภาพใน การชุมนุมของประชาชน และในส่วนของเจ้าหน้าที่ตำรวจถึงแนวปฏิบัติต่อผู้ชุมนุมและหลักการปฏิบัติ หากต้องมีการสลายการชุมนุม
ขอให้ช่วยติดตามรอฟังผลคดี และเข้าร่วมฟังการพิจารณาคดีที่มีการพิจารณาต่อเนื่อง ณ ศาลจังหวัดสงขลา ในคดีอาญาด้วย
No comments:
Post a Comment