About Us

My photo
1518 Soi Jaransaniwong 75 Junction 32, Bangphlad, Bangphlad,, Bangkok 10700, Thailand
The Community Resources Centre Foundation (CRC) is a non-governmental organisation which is committed to protect and promote the Human Rights, Community Right and the Environment. CRC is a watchdog on the implementation of ICCPR and ICESCR. มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน (ศขช.) เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร ตั้งขึ้นมาเพื่อทำงานในการปกป้องและส่งเสริม สิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชน และสิ่งแวดล้อม ศขช.เฝ้าระวังสถานการณ์ ตามกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และกติกาสากลว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

Wednesday, March 18, 2015

อะไรอยู่ในกฎหมายปิโตรเลียม ตอนที่ ๓

(เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์)

                ความคลุมเครือที่กลายเป็นอุปสรรคสำคัญที่สุดของขบวนการประชาชนที่ต่อสู้เรียกร้องให้แก้ไขกฎหมายปิโตรเลียมและกฎหมายภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเพื่อเปลี่ยนจากระบบสัมปทานเป็นระบบแบ่งปันผลผลิตก็คือ การเปลี่ยนเป็นระบบแบ่งปันผลผลิตจะสามารถเปลี่ยนนิยาม  ปิโตรเลียมเป็นของรัฐ”  ได้หรือไม่  ทั้งนี้  ฝ่ายนำของขบวนการประชาชนที่ต่อสู้เรียกร้องให้ยกเลิกการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมครั้งที่ ๒๑  ได้ปล่อยให้แนวร่วมชนชั้นกลางและชนชั้นนำในกรุงเทพฯเข้ามายึดกุมความคิดและควบคุมการเคลื่อนไหวของขบวนการประชาชนไว้แทบหมดสิ้นแล้ว  ซึ่งแนวร่วมชนชั้นเหล่านั้นมีเป้าหมายเพียงแค่การแก้ไขกฎหมายปิโตรเลียมเพื่อเปลี่ยนจากระบบสัมปทานไปเป็นระบบแบ่งปันผลผลิตเท่านั้นพอ  เพราะสิ่งที่ต้องการก็คือผลประโยชน์ที่รัฐจะได้รับมากขึ้นจากระบบแบ่งปันผลผลิต  นอกจากนั้น  พวกเขามีความคิดและมุมมองเช่นเดียวกับรัฐ  ดังนั้น  เพื่อคงไว้ซึ่งความเป็นเจ้าของทรัพยากรปิโตรเลียม  การรักษานิยามความหมายให้ปิโตรเลียมเป็นของรัฐจะเป็นหลักประกันได้ดีที่สุดว่ารัฐสามารถมีอำนาจบีบบังคับให้ประชาชนเปิดทางเพื่อขนเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการขุดเจาะสำรวจ  ผลิต  วางท่อขนส่งและก่อสร้างโรงแยกก๊าซบนที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองของประชาชนเอง  รวมทั้งที่สาธารณประโยชน์ที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันด้วย  เพื่อข่มขู่บังคับให้มีพลังการต่อต้านขัดขืนจากประชาชนให้น้อยที่สุด 

                นอกจากประเด็นเรื่องปิโตรเลียมเป็นของรัฐ  ยังมีสารัตถะอื่นของกฎหมายปิโตรเลียมที่จะได้นำมากล่าวไว้ด้วยในบทความนี้

Tuesday, March 17, 2015

อะไรอยู่ในกฎหมายปิโตรเลียม ตอนที่ ๒

(เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์)

หากมุ่งแก้ไขกฎหมายปิโตรเลียมและกฎหมายภาษีเงินได้ปิโตรเลียมตามที่รัฐบาลเผด็จการทหาร คสช. มีบัญชาให้แล้วเสร็จภายในสามเดือน นับแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ เฉพาะเพียงแค่การเปลี่ยนระบบสัมปทานไปเป็นระบบแบ่งปันผลผลิตตามที่ขบวนการประชาชนหลากหลายกลุ่มก้อนกำลังเรียกร้องกันอยู่ในขณะนี้ ก็เป็นเรื่องยากที่จะสร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายและโครงการพัฒนาด้านพลังงาน-ปิโตรเลียมได้ดีพอ เพราะความไม่เป็นธรรมที่ซ่อนอยู่ในกฎหมายทั้งสองฉบับยังมีอีกหลายประเด็นที่ไม่ได้ถูกกล่าวถึง

อะไรอยู่ในกฎหมายปิโตรเลียม ตอนที่ ๑

(เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์)


                
                ขบวนการประชาชนที่่ต่อสู้คัดค้านเพื่อขอให้รัฐยกเลิกการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมครั้งที่ ๒๑  แก่ผู้สนใจลงทุนภาคเอกชนกำลังอยู่ในกระแสสูง  เป็นที่จับตามองของสังคมอย่างใกล้ชิด  จากการยอมอ่อนข้อของรัฐบาลเผด็จการทหาร คสชที่มีคำสั่งยกเลิกชั่วคราวต่อการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ ๒๑  ประมาณสามเดือนนับจากปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้  โดยให้ดำเนินการแก้ไขกฎหมายปิโตรเลียม หรือพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.. ๒๕๑๔  ให้แล้วเสร็จเสียก่อน  นั้น  ดูเหมือนว่าเหตุผลที่ขบวนการประชาชนหลากหลายกลุ่มก้อนยกขึ้นมาอ้างต่อการเรียกร้องให้รัฐยกเลิกการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ ๒๑  มีเพียงข้อเดียว  นั่นคือ  ระบบสัมปทานที่ระบุไว้ในกฎหมายปิโตรเลียมเป็นระบบที่รัฐได้ค่าตอบแทนหรือผลประโยชน์น้อยมาก  ไม่คุ้มค่ากับทรัพยากรปิโตรเลียมที่สูญเสียไป  ต่างจากระบบแบ่งปันผลผลิตในหลายประเทศเพื่อนบ้านที่ให้ผลประโยชน์สูงกว่ามาก  จึงเรียกร้องให้แก้ไขกฎหมายปิโตรเลียมโดยเปลี่ยนจากระบบสัมปทานให้เป็นระบบแบ่งปันผลผลิตเสียก่อน  แล้วจึงค่อยดำเนินการประกาศเปิดพื้นที่ให้ผู้สนใจลงทุนภาคเอกชนยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมครั้งใหม่

Monday, March 16, 2015

“ทุ่งคา” เปิดบัญชี หลัง “ทุ่งคำ” ขนแร่ออกจากเหมืองทอง



A DamAffected Community Celebratesthe International Day of Action for Rivers and Opposesthe Lower Sesan 2 Dam in Stung Treng Province, Northeastern Cambodia


WWF เผยมหันตภัยเขื่อนไซยะบุรีกระทบประชาชนเอเชียอาคเนย์ 60 ล้านคน



กรุงเทพ, 14 มีนาคม 2558 – วันหยุดเขื่อนโลก
WWF-เผยแพร่สารคดีสั้นสะท้อนผลกระทบของเขื่อนไซยะบุรีในประเทศลาวต่อชุมชนลุ่มแม่น้ำโขง และทัศนะด้านวิชาการ จากผู้นำองค์กรพัฒนาเอกชน นักวิจัย นักกฎหมาย และนักวิชาการหลายแขนง