WWF เผยมหันตภัยเขื่อนไซยะบุรีกระทบประชาชนเอเชียอาคเนย์ 60 ล้านคน
กรุงเทพ, 14 มีนาคม 2558 – วันหยุดเขื่อนโลก
WWF-เผยแพร่สารคดีสั้นสะท้อนผลกระทบของเขื่อนไซยะบุรีในประเทศลาวต่อชุมชนลุ่มแม่น้ำโขง และทัศนะด้านวิชาการ จากผู้นำองค์กรพัฒนาเอกชน นักวิจัย นักกฎหมาย และนักวิชาการหลายแขนง
WWF-เผยแพร่สารคดีสั้นสะท้อนผลกระทบของเขื่อนไซยะบุรีในประเทศลาวต่อชุมชนลุ่มแม่น้ำโขง และทัศนะด้านวิชาการ จากผู้นำองค์กรพัฒนาเอกชน นักวิจัย นักกฎหมาย และนักวิชาการหลายแขนง
โดยระบุว่า โครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ “ไซยะบุรี” คือ โครงการก่อสร้างเขื่อนโครงการแรกที่สร้างกั้นแม่น้ำโขงส่วนหลัก อันก่อให้เกิดผลกระทบทางนิเวศวิทยาและอุทกวิทยาอย่างไม่สามารถเยียวยาได้ต่อระบบลุ่มน้ำโขงตอนล่างทั้งหมด ทั้งสร้างความหายนะต่อความมั่นคงทางอาหารแก่ประชาชนในประเทศไทย กัมพูชา เวียดนาม และลาวถึงกว่า 60 ล้านคน ในโครงการดังกล่าวยังมีการก่อสร้างอ่างเก็บกักน้ำที่มีความยาวกว่า 60 กิโลเมตร ขึ้นข้างโครงการ ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายที่รุนแรงต่อการอพยพย้ายถิ่นของปลาและการไหลเวียนของตะกอนดิน ด้วย
จากการศึกษาพบว่า แม่น้ำโขงเป็นหนึ่งในระบบแม่น้ำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีระยะทางยาวมากกว่า 4,800 กิโลเมตร แม่น้ำโขงจึงเป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยบริเวณตอนล่างของแม่น้ำโขงนั้นเป็นหนึ่งในพื้นที่กว้างใหญ่แห่งสุดท้ายของโลกที่ยังคงสภาพธรรมชาติสมบูรณ์ซึ่งหล่อเลี้ยงผู้คนเกือบ
60 ล้านคน ด้วยการประมงที่มีมูลค่าทางการค้ามากกว่า 4,000 ล้านดอลลาร์
แม่น้ำโขงเป็นแหล่งธรรมชาติที่สามารถผลิตปลาและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำอื่นๆ
ได้ประมาณ 2.6 ล้านตัน ต่อปี จึงถือเป็นแหล่งประมงน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยปลาที่จับได้ในลุ่มน้ำโขงคิดเป็นร้อยละ 19
– 25 ของปลาน้ำจืดที่จับได้ทั่วโลก ซึ่งในจำนวนนี้มีปลาน้ำจืดอยู่มากกว่า
1,200 สายพันธุ์ โดยมีปลาน้ำจืด 4 สายพันธุ์ ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เช่น ปลาบึกยักษ์ อันเป็นสายพันธุ์ปลาที่รู้จักกันเป็นอย่างดีว่าเป็นสัญลักษณ์ของแม่น้ำโขงรวมอยู่ด้วย
แม้แม่น้ำโขงจะพร้อมไปด้วยความสมบูรณ์ทางนิเวศดังกล่าว
แต่ในที่สุดประเทศไทยกลับปล่อยให้มีการดำเนินการสร้างเขื่อนไซยะบุรีในพื้นที่นั้น
โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ยังได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าที่จะถูกผลิตขึ้นจากเขื่อนไซยะบุรีด้วย
ในโอกาสวันหยุดเขื่อนโลก 14 มีนาคม นี้ WWF-ประเทศไทย หรือ กองทุนสัตว์ป่าโลก จึงจัดทำสารคดีสั้นขึ้น 7 เรื่อง เพื่อเป็นกระบอกเสียงให้แก่คนลุ่มน้ำโขงและผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับผูกพันกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชนลุ่มน้ำโขงในเชิงลึก โดยมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การพึ่งพาทรัพยากรและความมั่นคงทางอาหารที่มีต่อแม่น้ำโขง ทำให้ประจักษ์ชัดว่าผลกระทบจากโครงการก่อสร้างเขื่อนพลังน้ำไซยะบุรีได้เกิดขึ้นกับชุมชนในลุ่มน้ำโขงแล้ว และผลกระทบนี้จะเพิ่มมากขึ้นหลังจากที่เขื่อนไซยะบุรีสร้างเสร็จสมบูรณ์
นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานมูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ ตัวแทนนักพัฒนาเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนและการจัดการทรัพยากร กล่าวว่า “ไม่มีปลาบึกที่โตที่อื่นได้นอกจากในแม่น้ำโขง การกั้นเขื่อนนี้เพียงเขื่อนเดียว เป็นการปิดกั้นการอพยพของปลา และทำให้การไหลเวียนของน้ำเปลี่ยนแปลงทันที คุณกำลังเอาทรัพยากรน้ำโขงไปใช้กับคนกลุ่มหนึ่ง แต่ไม่ได้ใช้กับคน 60 ล้านคน ในลุ่มน้ำโขงที่อาศัยปลาในการดำรงชีวิตและได้รับประโยชน์จากการท่องเที่ยว เรื่องพลังงานอาจหาจากแหล่งอื่นได้ แต่งานวิศวกรรมกับการคำนึงถึงระบบนิเวศธรรมชาตินี้ที่สวนทางกันอย่างนี้มีแต่จะทำให้ผลกระทบเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ”
ด้าน นางสาวส. รัตนมณี พลกล้า นักกฎหมายและผู้ประสานงานจากศูนย์ข้อมูลชุมชน กล่าวว่า “ขั้นตอนในการปรึกษาหารือของเขื่อนไซยะบุรีไม่เป็นไปตามขั้นตอนและไม่เป็นไปตามหลักวิชาการ โดยผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนทั้งหมดใน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง ตั้งแต่จังหวัดเชียงรายถึงอุบลราชธานี ไม่ได้ทราบถึงข้อมูลในการสร้างเขื่อน และแม้ว่าจะมีการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น แต่ก็มีเพียงสี่ครั้งในบางจังหวัด และไม่มีการประกาศให้ประชาชนทราบโดยทั่วไป นอกจากนี้ ยังไม่มีการเผยแพร่ข้อมูลแต่อ้างว่ามีอยู่ในเว็บไซต์ ขนาดเราเข้าอินเตอร์เนตยังค้นยาก แล้วนับประสาอะไรกับชาวบ้านริมโขงที่ไม่มีอินเตอร์เนต ในที่สุดเขื่อนไซยะบุรีจะส่งผลกระทบต่อคนจำนวน 60 ล้านคน จึงอยากให้รัฐกลับไปมองว่า จริงๆแล้วความมั่นคงทางพลังงานที่รัฐพูดถึง มันใช่ความมั่นคงทางพลังงานที่ประชาชนต้องการจริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงความมั่นคงทางพลังงานของคนหยิบมือหนึ่งที่เป็นคนที่มีอำนาจทางสังคม เพราะฉะนั้น รัฐยังสามารถจะกลับมาดูแลประชาชนที่เป็นประชาชนทั่วไปจริงๆได้ หากทบทวนโครงการ”
ในโอกาสวันหยุดเขื่อนโลก 14 มีนาคม นี้ WWF-ประเทศไทย หรือ กองทุนสัตว์ป่าโลก จึงจัดทำสารคดีสั้นขึ้น 7 เรื่อง เพื่อเป็นกระบอกเสียงให้แก่คนลุ่มน้ำโขงและผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับผูกพันกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชนลุ่มน้ำโขงในเชิงลึก โดยมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การพึ่งพาทรัพยากรและความมั่นคงทางอาหารที่มีต่อแม่น้ำโขง ทำให้ประจักษ์ชัดว่าผลกระทบจากโครงการก่อสร้างเขื่อนพลังน้ำไซยะบุรีได้เกิดขึ้นกับชุมชนในลุ่มน้ำโขงแล้ว และผลกระทบนี้จะเพิ่มมากขึ้นหลังจากที่เขื่อนไซยะบุรีสร้างเสร็จสมบูรณ์
นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานมูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ ตัวแทนนักพัฒนาเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนและการจัดการทรัพยากร กล่าวว่า “ไม่มีปลาบึกที่โตที่อื่นได้นอกจากในแม่น้ำโขง การกั้นเขื่อนนี้เพียงเขื่อนเดียว เป็นการปิดกั้นการอพยพของปลา และทำให้การไหลเวียนของน้ำเปลี่ยนแปลงทันที คุณกำลังเอาทรัพยากรน้ำโขงไปใช้กับคนกลุ่มหนึ่ง แต่ไม่ได้ใช้กับคน 60 ล้านคน ในลุ่มน้ำโขงที่อาศัยปลาในการดำรงชีวิตและได้รับประโยชน์จากการท่องเที่ยว เรื่องพลังงานอาจหาจากแหล่งอื่นได้ แต่งานวิศวกรรมกับการคำนึงถึงระบบนิเวศธรรมชาตินี้ที่สวนทางกันอย่างนี้มีแต่จะทำให้ผลกระทบเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ”
ด้าน นางสาวส. รัตนมณี พลกล้า นักกฎหมายและผู้ประสานงานจากศูนย์ข้อมูลชุมชน กล่าวว่า “ขั้นตอนในการปรึกษาหารือของเขื่อนไซยะบุรีไม่เป็นไปตามขั้นตอนและไม่เป็นไปตามหลักวิชาการ โดยผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนทั้งหมดใน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง ตั้งแต่จังหวัดเชียงรายถึงอุบลราชธานี ไม่ได้ทราบถึงข้อมูลในการสร้างเขื่อน และแม้ว่าจะมีการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น แต่ก็มีเพียงสี่ครั้งในบางจังหวัด และไม่มีการประกาศให้ประชาชนทราบโดยทั่วไป นอกจากนี้ ยังไม่มีการเผยแพร่ข้อมูลแต่อ้างว่ามีอยู่ในเว็บไซต์ ขนาดเราเข้าอินเตอร์เนตยังค้นยาก แล้วนับประสาอะไรกับชาวบ้านริมโขงที่ไม่มีอินเตอร์เนต ในที่สุดเขื่อนไซยะบุรีจะส่งผลกระทบต่อคนจำนวน 60 ล้านคน จึงอยากให้รัฐกลับไปมองว่า จริงๆแล้วความมั่นคงทางพลังงานที่รัฐพูดถึง มันใช่ความมั่นคงทางพลังงานที่ประชาชนต้องการจริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงความมั่นคงทางพลังงานของคนหยิบมือหนึ่งที่เป็นคนที่มีอำนาจทางสังคม เพราะฉะนั้น รัฐยังสามารถจะกลับมาดูแลประชาชนที่เป็นประชาชนทั่วไปจริงๆได้ หากทบทวนโครงการ”
นายยรรยง
ศรีเจริญ ผู้จัดการโครงการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ WWF-ประเทศไทย อธิบายความสำคัญของแม่น้ำโขงว่า
“แม่น้ำโขงถือเป็นเส้นเลือดใหญ่ของพี่น้องประชาชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากข้อมูลทางวิชาการพบว่า พันธุ์ปลากว่า 1,200
ชนิด ในแม่น้ำโขงสามารถเลี้ยงคนได้กว่า 60 ล้านคน
ใน 4 ประเทศ การสร้างเขื่อนไซยะบุรีจะทำให้การไหลเวียนของกระแสน้ำไม่เป็นไปตามธรรมชาติ
การไหลของน้ำจะเร็วและรุนแรงมากขึ้น ทำให้เกิดตะกอนดินสะสมใต้น้ำ นอกจากนี้ ภายใต้ท้องน้ำของแม่น้ำโขงจะมีวังน้ำลึกซึ่งผิวดินใต้น้ำเป็นแหล่งวางไข่รวมทั้งเป็นแหล่งหลบภัยให้กับปลาในฤดูแล้งและฤดูน้ำหลาก
การสร้างเขื่อนจะทำให้แหล่งวางไข่ของปลาหายไป ส่งผลให้เกิดความเสียหายการขยายพันธุ์ปลาและจำนวนประชากรปลาในลุ่มน้ำโขง
กระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร”
“สองสามปีหลัง
กระแสน้ำเริ่มเปลี่ยน บางทีน้ำขึ้นในชั่วโมงเดียว อีกสองชั่วโมงน้ำแห้ง
หลังๆ ปลาบางชนิดก็หายไป” วชิรา นันทพรหม ชาวประมงในเชียงคานกล่าว
“ถ้าน้ำมาก็จะมาอย่างรวดเร็ว จนเก็บอะไรริมฝั่งขึ้นไม่ทัน
แต่ก่อนเราลงไปหาปลาแค่สองสามชั่วโมงก็ได้ปลามากิน แต่เดี๋ยวนี้ลงไปหาปลาทั้งวันบางทีก็ไม่ได้เลย
ถ้าเป็นอย่างนี้ต่อไป ชาวประมงก็คงจะลำบาก ไม่รู้จะหาปลากินได้อีกไหม
ต่อไปปลาคงสูญพันธุ์ไปทั้งหมด” ประยูน แสนแอ ชาวประมงในเชียงคานกล่าวWWF-ประเทศไทย ขอนำเสนอสารคดีสั้นทั้ง 7 เรื่อง ซึ่งหวังว่าจะช่วยให้ผู้ชม สื่อมวลชน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการตัดสินใจได้เข้าใจว่า เพราะเหตุใดโครงการเขื่อนไซยะบุรีจึงเป็นมหันตภัยต่อประเทศไทยและคนกว่า 60 ล้านคน ในอุษาคเนย์ โดยปัจจุบันยังไม่มีมาตรการแก้ไขที่เป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติที่พิสูจน์ได้ในทางปฏิบัติต่อปัญหาการอพยพของปลาและตะกอนดิน ซึ่งเป็นความเสี่ยงอันใหญ่หลวงต่อการประมงน้ำจืดอันมีมูลค่ามหาศาลและความสมบูรณ์ของภูมิภาคสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง อย่างไรก็ดี ยังมีทางเลือกพลังงานด้านอื่นๆ นอกเหนือไปจากการผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนไซยะบุรีนี้ อันเป็นโครงการสร้างเขื่อนที่มีศักยภาพที่จะก่อให้เกิดความเสียหายสูงสุดแห่งหนึ่ง เมื่อเปรียบเทียบกับเขื่อนต่างๆทั่วโลกที่กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างในขณะนี้ .
รายการสารคดีสั้นผลกระทบจากเขื่อนไซยะบุรี
2. สารคดีสั้นสัมภาษณ์ด้านวิชาการสะท้อนทัศนะของผู้เชี่ยวชาญ
2.1 คุณ ส. รัตนมณี พลกล้า
2.2 ดร. อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
2.3 ดร. บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์
2.4 คุณยรรยง ศรีเจริญ
2.5 คุณหาญณรงค์ เยาวเลิศ
2.6 ผศ.ดร.กนกวรรณ มโนรมย์
2.1 คุณ ส. รัตนมณี พลกล้า
2.2 ดร. อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
2.3 ดร. บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์
2.4 คุณยรรยง ศรีเจริญ
2.5 คุณหาญณรงค์ เยาวเลิศ
2.6 ผศ.ดร.กนกวรรณ มโนรมย์
No comments:
Post a Comment