About Us

My photo
1518 Soi Jaransaniwong 75 Junction 32, Bangphlad, Bangphlad,, Bangkok 10700, Thailand
The Community Resources Centre Foundation (CRC) is a non-governmental organisation which is committed to protect and promote the Human Rights, Community Right and the Environment. CRC is a watchdog on the implementation of ICCPR and ICESCR. มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน (ศขช.) เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร ตั้งขึ้นมาเพื่อทำงานในการปกป้องและส่งเสริม สิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชน และสิ่งแวดล้อม ศขช.เฝ้าระวังสถานการณ์ ตามกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และกติกาสากลว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

Saturday, September 17, 2011

รายงานการนัดพิจารณาคดีครั้งแรกของศาลปกครองสูงสุด กรณ๊การสลายการชุมนุมผู้คัดค้านโครงการท่อก๊าซและโรงแยกก๊าซ ไทย-มาเลเซีย

เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2554 ศาลปกครองสูงสุด กรุงเทพมหานคร ได้ออกนั่งพิจารณาคดีครั้งแรก หลังจากกำหนดสิ้นสุดแสวงหาข้อเท็จจริงไปเมื่อหลายเดืือนก่อน โดยผู้ฟ้องคดีทั้งที่เป็นประชาชนในอำเภอจะนะ และเจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน รวมทั้งประชาชนผู้คัดค้านโครงการท่อก๊าซธรรมชาติและโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ไทย-มาเลเซีย จำนวน 50 คน จากอำเภอจะนะจังหวัดสงขลา ได้เหมารถบัสมาเพื่อเข้าฟังการนั่งพิจารณาคดีครั้งนี้

ศาลปกครองสูงสุดได้ออกนั่งพิจารณา เมื่อเวลา 13 นาฬิกา โดยมีผู้ฟ้องคดีและประชาชนจากอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา พร้อมทนายความจากสภาทนายความ นายสุรชัย ตรงงาม และ นางสาวส.รัตนมณี พลกล้า ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ฟ้องคดี มาร่วมฟังการพิจารณาคดี โดยฝ่ายสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้ถูกฟ้องคดี ไม่มาศาล

ศาลสรุปข้อเท็จจริงในสำนวนคดีให้ฟัง และแจ้งว่าผู้ฟ้องคดีได้ยื่นคำแถลงการต่อศาลเป็นเอกสาร และขออนุญาตแถลงการด้วยวาจา ศาลจึงอนุญาตให้ผู้แทนของผู้ฟ้องคดีแถลงการณ์ด้วยวาจา โดย นางสุไรด๊ะ โต๊ะหลี ผู้ฟ้องคดีที่ 4 เป็นตัวแทนของผู้ฟ้องคดีแถลงต่อศาลด้วยวาจา

นางสุไรด๊ะ แถลงยืนยันว่า ผู้ชุมนุมใช้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าสลายการชุมนุม ผู้ชุมนุมกำลังพักรอผลการเจรจาด้วยการรับประทานอาหาร และบางส่วนทำพิธีละหมาด แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจกลับเข้ามาสลายการชุมนุมโดยไม่มีการบอกกล่าวหรือแจ้งเตือน ถือเป็นการละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีที่มาชุมนุม ทำให้เกิดความเสียหายต่อสิทธิเสรีภาพ และทำให้พวกตนได้รับความเดือดร้อนจากการถูกดำเนินคดี ด้วยการตามจับตัว และต้องเข้าต่อสู้คดีอาญา ต้องไปศาลเพื่อฟังการพิจารณาคดีเป็นเวลาเกือบ 2 ปี ซึ่งต่อมาทั้งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ได้มีคำพิพากษายกฟ้องจำเลยทั้งหมด

นอกจากนี้ สุไรด๊ะยังแถลงเพิ่มเติมว่า การชุมนุมดัวกล่าวเพื่อให้มีการชะลอโครงการหรือยกเลิกโครงการ แต่เมื่อการชุมนุมได้สำเร็จเพราะถูกละเมิดสะลายการชุมนุมเสียก่อน ทำให้ภายหลังโครงการได้ก่อสร้างจนแล้วเสร็จ และปรากฏว่า สิ่งที่ประชาชนวิตกกังวลและคัดค้านก็ส่งผลให้เห็น เช่น การเกิดปัญหาเรื่องในลำน้ำตาย กลิ่นเหม็นและเสียงดังจากระบบการผลิต

ตุลาการเจ้าของสำนวนได้ให้ตุลาการผู้แถลงคดี แถลงการต่อศาลด้วยวาจา โดยอนุญาตให้คู่ความและบุคคลอื่นนั่งฟังคำแถลงการณ์ได้ โดยตุลาการผู้แถลงคดีแถลงต่อศาลว่า ที่ศาลปกครองสงขลาพิจารณาคดีเกี่ยวกับการสลายการชุมนุมโดยกำหนดให้มีการชด ใช้ค่าเสียหายจากการสลายการชุมนุมนั้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว ศาลปกครองสงขลามีอำนาจพิจารณาพิพากษา และเห็นว่าที่ผู้ถูกฟ้องคดีอุทธรณ์ว่าการชุมนุมของผู้ชุมนุมในวันที่ 20 ธันวาคม 2545 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่สงบและมีอาวุธนั้น ตุลาการผู้แถลงคดีเห็นว่า ลูกตะกั่วถ่วงอวน หนังสติ๊กสามง่าม มีดสะปาต้า แม้เป็นอาวุธโดยสภาพ แต่มีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ชุมนุม จึงเชื่อว่าเป็นเรื่องของเจตนาของแต่ละบุคคลไม่ใช่เจตนาร่วม ส่วน กรรไกร และไม้คันธง ไม่ถือเป็นอาวุธโดยสภาพ และมีการนำมาใช้ต่อเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าสลายการชุมนุมแล้ว จึงเป็นเจตนาของแต่ละบุคคล ไม่ใช่มีเจตนานำมาใช้เป็นอาวุธ เมื่อผู้ชุมนุมหยุดรอการเจรจาโดยสงบ บางส่วนนั่งรับประทานอาหาร บางส่วนละหมาด แล้วเจ้าหน้าที่ตำรวจกลับเข้าปลักดันสลายการชุมนุม จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพในการชุมนุม ที่ศาลปกครองสงขลาพิพากษาให้ชดใช้ค่าเสียหายคนละ 10,000 บาท ถือว่าสมควรแก่เหตุแห่งพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดที่มาีต่อความเสีย หายต่อสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมและความเสียหายทางจิตใจแล้ว

ตุลาการเจ้าของสำนวนแจ้งต่อผู้ฟ้องคดีว่า คดีเสร็จการพิจารณา และจะมีคำพิพากษาคดีหลังจากนี้ โดยจะส่งคำพิพากษาให้ศษลปกครองสงขลาอ่านคำพิพากษาต่อไป

คดีนี้ สืบเนื่องมาจาก ประชาชนและเจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชนผู้คัดค้านโครงการท่อส่งก๊าซและโรง แยกก๊าซธรรมชาติ ไทย-มาเลเซีย ได้ร่วมกันจัดให้มีการชุมนุมขึ้น ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อจะไปยื่นหนังสือคัดค้านโครงการต่อ ทักษิณ ชิณวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ในวันที่ 21 ธันวาคม 2545 เนื่องจากทราบว่าจะมีการมาประชุมรัฐมนตรีสัญจร ที่โรงแรมเจมีในวันดังกล่าว โดยผู้ชุมนุมได้มีการประสานงานกับตัวแทนของรัฐบาล เื่ืแจ้งวันเวลาการเดินทาง รูปแบบการเดินทาง เส้นทาง และจุดหมายที่จะไปรอยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี โดยได้มีการเดินทางจากอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ในวันที่ 20 ธันวาคม 2545 เวลาบ่าย แล้วเดินทางมาจนถึงบริเวณวงเวียนน้ำพุ ถนนจุติ-บุญสูงอุทิศ แต่ไม่สามารถเดินทางต่อไป ณ สวนหย่อม ข้างอาคารจอดรถโรงแรมเจบี เพื่อรอยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีในวันที่ 21 ธันวาคม 2545 ตามที่กำหนดนัดหมายไว้ได้

ผู้ชุมนุมเดินทางถึงจุดดังกล่าว เวลาประมาณ 19 นาฬิกา พบว่า เส้นทางถูกปิดกั้นไว้ด้วยแผงเหล็กและกองกำลังตำรวจ ต่อมาตัวแทนของรัฐบาลซึ่งเป็นคนเดียวกับที่ประสานงานการมาชุมนุมได้เข้ามา หารือ และแจ้งให้รอประมาณ 1 ชั่วโมง ผู้ชุมนุมจึงได้แยกย้ายกันนั่งรับประทานอาหาร และละหมาดกันในบริเวณดังกล่าว โดยสงบ

ระหว่างการรอผลการเจรจาดังกล่าวยังไม่ครบกำหนดเวลา กลับปรากฏว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตั้งแถวแล้วเข้าผลักดันประชาชนด้วยกำลังและกระบอง จนกระทั่งผู้ชุมนุมต้องสลายการชุมนุม

โดยในการนี้ ผู้ชุมนุมที่เป็นเจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชนถูกจับกุม ณ ที่เกิดเหตุทั้งสิ้น 12 คน หลังจากนั้น ประชาชนผู้มาร่วมชุมนุมถูกออหมายจับและถูกจับดำเนินคดีอีก 22 คน รวมถูกดำเนินคดีอาญาทั้งสิ้น 34 คน แต่ผลคำิพิพากษาของศาลจังหวัดสงขลา และศาลอุทธรณ์ พิพากษายกฟ้องจำเลยทั้งหมด และระบุว่า การสลายการชุมนุมไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ในระหว่างการต่อสู้คดีอาญา เมื่อปลายปี 2546 ผู้ชุมนุมรวม 30 คน จึงได้ร่วมกันฟ้องสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้รับผิดต่อความเสียหายจากการถูก ละเมิดสิทธิเสรีภาพในการชุมนุม เป็นเงินคนละ 20,000 บาท และการที่ถูกทำร้ายร่างกายและทำลายทรัพย์สินต่อศาลปกครองสงขลา แต่ศาลปกครองสงขลารับคำฟ้องเฉพาะผู้ฟ้องคดีที่ 1 ถึงที่ 24 กรณีความเสียหายต่อเสรีภาพในการชุมนุม ส่วนความเสียหายจากการทำร้ายร่างกายและทำลายทรัพย์สินของผู้ฟ้องคดีที่ 25 ถึงที่ 30 ศาลเห็นว่าเป็นเรื่องในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา จึงได้มีการแบกไปฟ้องต่อศาลแขวงสงขลาเป็นคดีแพ่ง นอกจากนี้ ผู้ชุมนุมยังได้ร่วมกันฟ้องคดีอาญาต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้สั่งให้มีการสลาย การชุมนุมและผู้ปฏิบัติการสลายการชุมนุม เพื่อให้รับโทษอาญาในข้อหาปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบอีกด้วย

ซึ่งผลของคดีปกครอง ณ ศาลปกครองสงขลา ศาลปกครองสงขลาพิพากษาว่า คำสั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสลายการชุมนุมนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมา่ย ผู้ชุมนุมได้ใช้เสรีภาพในการชุมนุมตามรัฐธรรมนูญ สำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงต้องชดใช้ค่าเสียหายให้ผู้ฟ้องคดีรวม 24 ราย เป็นเงินคนละ 10,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันทำละเมิดจนกว่าจะชำระเสร็จ

ต่อมา สำนักงานตำรวจแห่งชาติอุทธรณ์คำิพิพากษาของศาลปกครองสงขลาต่อศาลปกครองสูง สุด ผู้ฟ้องคดีไม่อุทธรณ์ แล้วศาลปกครองสูงสุดได้นัดนั่งพิจารณาคดีครั้งแรกในวันนี้

ส่วน คดีศาลแขวงสงขลาศาลได้สืบพยานโจทก์จำเลยจนเสร็จแล้ว แต่ยังไม่ออกคำพิพากษา โดยกำหนดให้รอผลการฟ้องคดีอาญาที่ผุ้ชุมนุมฟ้องเจ้าหน้าที่่ตำรวจ

สำหรับ คดีอาญาที่ผู้ชุมนุมฟ้องเจ้าหน้าที่ตำรวจนั้น ศาลได้มีคำสั่งรับฟ้องเจ้าหน้าที่ตำรวจรวม 6 นาย ซึ่งรวมทั้งพล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติในขณะนั้น เป็นจำเลยที่ 1 ขณะนี้คดีอยู่ระหว่างการสืบพยานโจทก์ โดยเพิ่งสืบพยานโจทก์ได้เป็นปากที่ 3 และยังมีการกำหนดสืบพยานต่อเนื่องทุกเดือนๆละ 3-4 วัน ไปจนถึงเดือนมีนาคม 2555

นับว่ากรณีนี้เป็นกรณีแรกของประเทศไทย ในการฟ้องร้องเพื่อรับรองสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมของประชาชน และเชื่อว่าคำพิพากษาคดีนี้จะสร้างบรรทัดฐานทั้งในส่วนของการใช้เสรีภาพใน การชุมนุมของประชาชน และในส่วนของเจ้าหน้าที่ตำรวจถึงแนวปฏิบัติต่อผู้ชุมนุมและหลักการปฏิบัติ หากต้องมีการสลายการชุมนุม

ขอให้ช่วยติดตามรอฟังผลคดี และเข้าร่วมฟังการพิจารณาคดีที่มีการพิจารณาต่อเนื่อง ณ ศาลจังหวัดสงขลา ในคดีอาญาด้วย

Wednesday, September 14, 2011

Protecting Environmental, Economic, Social and Cultural Rights of Community living in/adjacent to Mining Area- A Case-report on the struggle of Khu-h

Introduction

Environmental, Economic, Social and Cultural rights (hereafter EESC) are directly related to the basic necessities of life such as clean environment, water, work, food, and housing, health care, education, culture etc. Therefore EESC rights have a bearing on poverty thus violations of EESC rights are the clear violations of human rights. In this back drop, this article will analyze the human rights violations of Khu-ha villagers brought by the Thai Mining company. Given the recent Thai court verdicts in the Khu-ha vs. Mining Company case, this paper highlights the importance of court decision regarding the environmental dimension of human rights and community rights. Nonetheless, this article advocates the recognition and protection of EESC rights particularly right to a clean environment, presents a plea for a more participatory community oriented approach, based on the collective social dimension of human rights affected by environmental degradation.

Background

The peaceful environment of Khu-ha has been disrupted since 1997 when a local mining company started extracting lime stone from the lime mountain, located in the midst of three villages in Ratta-phum district of Songkhla province. The lives of Khu-ha natives have been completely disturbed due to the deep impact of the mining activities. The life of the Khu-ha villagers revolves around the Khu-ha mountain. This mountain not only provides the water for their agricultural fields but also is a source of bats generated organic fertilizers. Apart from providing fish and lush green environment, Khu-ha Mountain is cultural symbol of the village. However, mining activities has shaken the souls of the villager life. In this connection it would be worthwhile to note that mining activities at Khu-ha has violated a number of human rights which is given below-

The Right to Livelihood

Since the mining activities have begun, the level of water has gone down, affecting the paddy crops, fruit garden and rubber fields therefore adversely affecting the income of villagers. This has clearly undermined the lively hood of the local people. Nonetheless, a duck farm, adjacent to the lime mountain, was deeply affected. Due to the mine blasting dukes stopped hatching eggs; even the size of the eggs becomes small. Their pet’s died, too. This resulted in the remarkable loss of income to a Khu-ha native.

The Right to Water

Due to the use of explosives in the mining process, the water becomes contaminated. Using this water for agricultural purpose and house hold activities can be hazardous. In addition, local animals and birds mainly survive on this source of water.

The Right to clean Environment and the Right to Health

Explosives endanger people’s health.

Due to the incessant explosions in the lime mountain, air in local area has becomes polluted and has the potential to make villagers deaf. Some locals developed the respiratory diseases. Many of them suffer with depression and anxiety. After the explosion, affected area is usually full of dust particles and small pieces of flying stones causing serious health problems to the villagers. Cases of Silicosis are on the rise. This is clear disregard of the international law of the right to health and clean environment.

The Right to Housing and Right to preserve Culture

Sheer impact of explosion has caused the cracks in the local building. Wide crackes can be seen in many houses. So far 300 houses are deeply affected. Local people can not open the window due to the noise and dust. Since Khu-ha mountain is the center of the cultural life of the villagers particularly prevailing belief that sprits lives on the mountain. However, cultural rights of Khu-ha natives are not respected as miners have blasted sacred lime mountain.

Access to Information and Participation in decision-making process

Villagers have been supplied information only if insisted. The mining contract was not made public. In addition, natives of the Khu-ha village were not consulted before initiating the mining activities. Even, they were not given opportunity in the decision making process to decide the fate of their village life and its environment.

Restrictions on the Movements

Local villagers usually go for fishing into the water stream located inside the lime mountain. However, mountain area has been cordoned off to the local population restricting their movement around the Khu-ha Mountain. Since Lime Mountain has been leased to the mining company therefore an intruder can be prosecuted under the Thai law for trespassing.

Right to profit sharing

Though the mining activity has started in 1997, company never intends to share the profit with the local villagers. However, in the name of corporate social responsibility company did pay lip services in the form of meager compensation to few people. There is hardly any meaningful investment in the local infrastructure.

However, on 28 December 2010, with the help of Community Resource Centre (hereafter CRC), a Bangkok based N.G.O., and 4 villagers have filed case to Songkhla khwaeng court against company to pay compensation on liability of damaged house and livelihood for 4 villagers. The 4 villagers asked 150,000 to 300,000 baht each for compensation. The court has accepted to the trial by Black case no. 588/2553. In addition, on 30 December 2010, CRC lawyer and two more villagers have filed case to Songkhla provincial court for asking the mining company to pay compensation of 1,700,000 and 2,700,000 baht each. The court has accepted to be trial by Black case no. 1280/2553.

Current Situation

However despite Thailand being signatory of the U.N. Convention, rights of Khu-ha communities is being violated. Most local people are often burdened with environmental costs and remain marginalized and poor as most have limited employment opportunities; there is no economic share in natural resources wealth extraction, poor community infrastructural development led to the backwardness. Displacements are rampant to make way for mining operations. Corporate social responsibility is not based on big community social development projects but only small donations. There is no major investment in roads, clinics, or developing the area or major agricultural project. In addition to the environmental damage, there is limited access to information and participation in decision and planning process. There is fear and lack of confidence amongst the people to question government and mining companies. However in some cases people have shown remarkable courage to challenge their rights violation, such as Khu-ha natives. Nonetheless, there is limited knowledge of channels to demand and claim the right to benefit from natural resources and other rights. Nonetheless, mining activity obliviously has devastated the lives of Khu-ha villagers. Khu-ha villagers have left no stone unturned to demand their rights. They went every nook and corner to complain their grievance but no avail. In order to fight for their human rights and environmental rights, Community Resource Center came forward to join their struggle by providing them legal aid and advocating their rights at the local, national and international level.

Efforts of Community Resource Centre (CRC)

Along with providing legal advice and advocating community rights, CRC is empowering communities by running folk school which has been quite successful. Thai village communities were made aware about their rights and way to challenge their violations and to get the redress. In addition, C.R.C. lawyers were able to make the villagers voices echoed in the narrow walls of the judiciary and red-tap. The outcome of their effort was the landmark jurisdiction by the Songhkhla khwaeng court, which will be discussed in separate section.

International Standards regarding human rights and Environmental Rights

All rights are human rights including Environmental. Economic, social and Cultural rights (EESCR), in addition, all human rights are universal, indivisible and interdependent and interrelated. For example deprivation of EESC rights constitutes threat to the right to life. International Convention on Economic, Social and Cultural Rights (1966), International Convention and on Civil and Political Rights (1966), African Charter on Human and People’s Rights (1981) and various international environmental conventions and protocols recognizes EESCR.

The Human Dimension of Environmental Law

1972 Stockholm Declaration on the Human Environment declared that ‘Man has the fundamental right to freedom, equality, and adequate conditions of life, in an environment of a quality that permits a life of dignity and well being, and he bears a solemn responsibility to protect and improve the environment for present and future generation (Principle 1 of the Declaration)’. In its simplicity, this statement contained all the questions of the environmental protection. It recognized that the enjoyment of freedom and equality which permits human beings is inseparable from the preservation of an environmental quality which [1]permits human dignity and human welfare (Francioni, 2010, p.44). In 2005, the Council of Europe adopted a ‘Manual on Human Rights and the Environments’ which takes notice of the growing jurisprudence of the Strasbourg Court on the subject and lays down a set of general principles which have a direct impact on the adjudication of environmental claims which are based on specific Convention rights such as rights to life, property and fair hearing as well as private and family life. According to these principles, States are always obliged to take and implement measures to control environmental problems which affect the enjoyment of human rights recognized in the Convention and States have an obligation to provide information relating to serious environmental risk, to ensure public participation in environmental decision-making and access to environmental justice. In its General Comments No. 15, the UN Committee on Economic, Social and Cultural Rights has recognized that Stats are under an obligation to ensure adequate and accessible supply the water for drinking, sanitation, and nutrition in accordance with Article 11 and 12 of the 1966 UN Convention on Economic, Social and Cultural Rights[2].

Economic Rights and Environmental Rights

The European Court and other human rights bodies have developed a rich jurisprudence on the role of human rights in adjudicating the legality of certain environmental impacts on life, property, and the people affected. In Glaims Gold v. US[3] case a Canadian mining company claimed that its investment in the United States has been injured by the American authority’s denial to proceed with mining in a sensitive area of environmental quality and of the cultural importance in Northern California. The arbitral decision issued in June 2009 recognized that the conservation of environmental quality and the cultural values attached to the specific areas- which were of great importance as ancestral land of the local native American tribes- were legitimate aims of the United States justifying the limitation of property rights and other economic interest of the investors. However the Strasbourg Court has made a positive contribution to the construction of an environmental dimension of several rights enshrined in the European Convention on Human Rights (ECHR). In the cases of Lopez Ostra v. Spain (ECHR Series A, No.303 C) and Guerra v. Italy (ECHR Rep, 1988-1, 210), the court ordered that along with State, private parties can be held for their disregard of the environmental obligations. However, in Fadayeva v. Russia (ECtHR Repv, 2005-iv, 255), the court declared that industrial activities with a heavy environmental impact gave rise to the respondent state’s responsibility for failure to regulate private industry when such failures resulted in a form of environmental degradation such as a failure to secure human rights under the Convention. With regard to the right to life, the Court declared in Oneryildiz v. Turkey case that the ‘positive obligation to take all appropriate steps to safeguard for the purposes of the Article 2...’entails above all a primary duty on the State to put in the place a legislative and administrative framework designed to provide effective deterrence against threat to the right to life. In Taskin v. Turkey (Ct HR 1149 2004-X Eur) Court emphasize the procedural duties concerning provision of information and consultation with affected parties as a condition for the fulfillment of the obligations inherent in Article 8 of the Convention (private and family life and for the proper balancing of economic developments goals and human rights.

The UN Convention

Environmental clams have been brought under the UN Human Rights Committee under the minority protection clause of Article 27 of the Convention on Civil and Political Rights. This a cultural provision which expressly refers to the rights of persons belongings to such minorities, rather then to the collective rights of the groups as such. Consistently with this wording, the UN Human Rights Committee has addressed environmental impacts on traditional life of minorities in the perspective of the individual rights of minority members rather than of the community. In Lubicon Lake Band v. Canada, the Human Rights Committee found that the adverse environmental impacts caused by oil and gas extraction on the traditional lands on an indigenous community as a whole, and not on individuals members of the group.

A Landmark Court decision in the case of Khu-ha Mountain

People of Khu-ha village in Ratta-phum district, Songhkhla Province in Southern Thailand won a case against a private mining company in the Khwaeng court. In his decision on 1 August 2011, judge declared that mining could be the major cause of the violation of the human rights. Even though mining company has followed health safety standards, in the case of any health or sickness in mining area, company will be responsible for the compensation. However, judge ordered the company to compensate for the damages to the houses and dust to make the house dirty occurred due to the mining blast. Ironically, in the absence of the law on the flying pieces of stones (during the blasting process) and loudness of blasting in the mining area, company went away scot free. However, Khu-ha natives have decided to appeal into the appeal court in order to stop the mining and to get enough compensation. Nonetheless, mining company, in its utter disregards to the Khu-ha people, mining company did not showed up in the court proceedings. Moreover, the fight to get the justice is going on with the help of CRC.

Contributed by-

Amit King

Institute of Human Rights and Peace

Mahidol University



[1] Council of Europe Committee of Experts for the Development of Human Rights, ‘Final Activity Report on Human Rights and the Environment”, 10 Nov. 2005,DH-DEV(2005)06 rev.

[2] General Comments No.15: the right to Water (Arts 11 and 12 ). 26 Nov. 2002, ESCOR, 2003, Supp.2,120.

[3] Glamis Gold Ltd v. Government of the United States of America, available at: www.state.gov./documents/organization/.

Monday, September 12, 2011

เชิญร่วมฟังการพิจารณาคดีครั้งแรก และให้กำลังใจกลุ่มผู้คัดค้านโครงการท่อก๊าซและโรงแยกก๊าซ ไทย-มาเลเซีย ณ ศาลปกครองสุงสุด

เชิญร่วมฟังและให้กำลังใจ การพิจารณาคดีครั้งแรกของศาลปกครองสุงสุด ก่อนครบกำหนด ๙ ปี ของเหตุการณ์สลายการชุมนุมกลุ่มผู้คัดค้านโครงการท่อก๊าซและโรงแยกก๊าซ ไทย-มาเลเซีย เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๕


โดยที่กลุ่มผู้ชุมนุมได้ยื่นฟ้องสำนักงานตำรวจแห่งชาติต่อศาลปกครองสงขลาว่า การสลายการชุมนุม เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๕ นั้น เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ละเมิดสิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมของผู้่ฟ้องคดี ทำให้ไม่อาจชุมนุมได้ตามวัตถุประสงค์ โดยขอให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติชดใช้ค่าเสียหายจากการละเมิดสิทธิดังกล่าว เป็นเงินคนละ ๒๐,๐๐๐ บาท รวม ๒๔ คน

ต่อมา ศาลปกครองสงขลาได้มีคำพิพากษาว่า การสลายการชุมนุมกลุ่มผู้คัดค้านโครงการท่อก๊าซและโรงแยกก๊าซไทย-มาเลเซีย ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๕ เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ละเมิดเสรีภาพในการชุมนุมซึ่งเป็นสิทธิที่รับรองโดยกฎหมายรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสุงสุด โดยกำหนดให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการละเมิดสิทธิดังกล่าวแก่ผู้ฟ้องคดีทั้ง ๒๔ ราย ซึ่งเป็นผู้ชุมนุมคนละ ๑๐,๐๐๐ บาท

สำนักงานตำรวจแห่งชาติอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสุงสุด แต่ผู้ฟ้องคดีไม่อุทธรณ์

ซึ่ง ในวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๔ เวลา ๑๓.๐๐ น. ศาลปกครองสุงสุดได้กำหนดใ้ห้เป็นวันนั่งพิจารณาคดีครั้งแรก โดยในวันดังกล่าวผู้ฟ้องคดีและประชาชนกลุ่มคัดค้านโครงการท่อก๊าซและโรงแยก ก๊าซไทย-มาเลเซีย จะุ้เดินทางจากจังหวัดสงขลา มายังศาลปกครองสูงสุด กรุงเทพมหานคร จำนวน ๕๐ คน เพื่อฟังการนั่งพิจารณาคดีครั้งแรก โดยผู้ฟ้องคดีได้เตรียมยื่นคำแถลงการณ์เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อยื่นต่อศาล และมอบหมายให้ นางสุไรด๊ะ โต๊ะหลี ผู้ฟ้องคดีที่ ๔ เป็นผู้แถลงการณ์ด้วยวาจาต่อศาล

ในวันนั่งพิจารณาคดีครั้งแรก นี้ ตุลาการเจ้าของสำนวนแห่งศาลปกครองสูงสุดจะอ่านสรุปสำนวนของตนให้คู่ความและ ตุลาการท่ายอื่นฟัง หากคู่ความเห็นว่าไม่ถูกต้องก็สามารถคัดค้านได้ในห้องพิจารณา จากนั้นจะให้คู่ความซึ่งได้ยื่นคำแถลงการณ์เป็นลายลักษณ์อักษรและประสงค์จะ แถลงการณ์ด้วยวาจา ได้กล่าวแถลงการณ์ต่อศาล แล้วตุลาการเจ้าของสำนวนจะได้สอบถามตุลาการผุ้แถลงคดีว่าจะแถลงการณ์ด้วย วาจาต่อองค์คณะตุลาการหรือไม่ หากประสงค์ตุลาการณ์ผู้แถลงคดีก็จะแถลงด้วยวาจาต่อศาล แต่หากไม่ประสงค์ ตุลาการเจ้าของสำนวนก็จะจบกระบวนพิจารณา และอ่านรายงานกระบวนพิจารณาให้คู่ความทราบ โดยจะยังไม่ได้กำหนดว่า เมื่อใดจะได้มีการกำหนดอ่านคำพิพากษา

คดีนี้ เป็นคดีที่อาจกล่าวได้ว่า จะเป็นการสร้างบรรทัดฐานว่าด้วยการชุมนุมและการควบคุมการชุมนุม ตลอดไปถึงการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ในการสลายการชุมนุม และเป็นคดีแรกในประเทศไทยที่ได้มีการฟ้องร้องว่า การสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

จึงขอเชิญทุกท่านร่วมรับฟังคดี และให้กำลังใจต่อประชาชนผู้ต่อสู้เพื่อสร้างบรรทัดฐานแก่สังคม และต่อสู้่เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม ที่ใช้่เวลาผ่านมาแล้วเกือบ ๙ ปี โดยขอให้พร้อมเพรียงกันที่ ศาลปกครองสุงสุด ชั้น ๓ ห้องพิจารณาคดีที่ ๔ ในวันอังคารที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๔ เวลา ๑๓.๐๐ น.