เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ประเทศไทยออกแถลงการณ์แสดงความเห็นต่อร่างพ.ร.บ.แร่ แนะกฤษฎีกาดึงความเห็นภาคปชช.-ร่างกม.ฉบับคปก.ร่วมพิจารณา
แถลงการณ์
ข้อเสนอความเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติแร่
พ.ศ. ....
วันที่ 22 มกราคม 2558
ณ สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย
ชั้น 16 อาคารซอฟท์แวร์ปาร์ค
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติแร่
พ.ศ. .... เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม
2557
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
และขณะนี้ร่างดังกล่าวอยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกานั้น
เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ประเทศไทย
และองค์กรเครือข่ายได้ตรวจสอบร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้วพบว่าเนื้อหามีลักษณะในการเอื้อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในการสำรวจและทำเหมืองแร่มากยิ่งกว่าจะคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติ
และชุมชนที่จะได้ประโยชน์จากทรัพยากรแร่ และคำนึงถึงประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากยิ่งกว่าการสงวนหวงห้ามและคุ้มครองพื้นที่ที่สำคัญต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม
รวมถึงมิได้คำนึงถึงสิทธิในการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย
และคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งๆ
ที่ชุมชนและประชาชนเป็นเจ้าของทรัพยากรแร่และเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการประกอบกิจการเหมืองแร่โดยตรง
และในวันนี้คณะกรรมการปฎิรูปกฎหมายได้จัดทำร่างพระราชบัญญัติแร่ขึ้นมาโดยได้นำข้อคิดเห็นจากภาคประชาชนเข้ามาประกอบการยกร่าง
ด้วยเนื้อหาที่มีมีลักษณะในการคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน
การมีส่วนร่วมของชุมชนและประชาชน การมีแผนบริหารจัดการแร่แห่งชาติที่สอดคล้องกับรายงานการประเมินผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์สิ่งแวดล้อม
การสงวนหวงห้ามและคุ้มครองพื้นที่โดยการห้ามสำรวจและประกอบกิจการในพื้นที่ป่าสงวน
เขตอุทยานแห่งชาติ แหล่งมรดกทางธรรมชาติ เขตพื้นที่ป่าต้นน้ำและป่าน้ำซับซึม
และการสำรวจแร่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ครอบครองที่ดิน เป็นต้น
ซึ่งแตกต่างจากร่างพระราชบัญญัติแร่ฉบับกระทรวงอุตสาหกรรม
เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ประเทศไทย
และองค์กรเครือข่ายจึงไม่เห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ....ของกระทรวงอุตสาหกรรม
ทั้งในประเด็นการไม่มีส่วนร่วมของประชาชนในการยกร่างและเนื้อหาของร่างดังกล่าว อีกทั้งปัจจุบันอยู่ระหว่างการปฏิรูปและจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ดังนั้นการพิจารณาออกกฎหมายซึ่งมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิทธิเสรีภาพของประชาชนควรที่จะรอให้มีรัฐธรรมนูญและมีรัฐสภาที่เป็นตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริงเสียก่อน
รวมถึงต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นอย่างทั่วถึงก่อนการพิจารณาร่างกฎหมายแร่ดังกล่าว
เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ประเทศไทย
และองค์กรเครือข่ายตามรายชื่อด้านท้ายหนังสือฉบับนี้ จึงมีข้อเสนอต่อรัฐบาลและคณะกรรมการกฤษฎีกา ดังนี้
1.
ให้คณะกรรมการกฤษฎีกาทบทวนร่างพระราชบัญญัติแร่
พ.ศ. .... โดยนำความคิดเห็นของภาคประชาชนต่อร่างพระราชบัญญัติแร่
พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติแร่ฉบับคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย
เข้าไปพิจารณาร่วมด้วย
2.
ให้นายกรัฐมนตรีสั่งการให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตั้งคณะทำงานร่วมในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแร่ทั้งสองฉบับ (ร่างพระราชบัญญัติแร่ฉบับกระทรวงอุตสาหกรรม
และร่างพระราชบัญญัติแร่ฉบับคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย) โดยประกอบไปด้วย
คณะกรรมการกฤษฎีกา
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และภาคประชาชน
ในการพิจารณาทบทวนเนื้อหาโดยละเอียด
3.
หลังจากดำเนินการตามข้อ
1 และข้อ 2 แล้ว ขอให้รัฐบาลชะลอการเสนอร่างพระราชบัญญัติแร่ ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
จนกว่าจะมีรัฐธรรมนูญและมีรัฐสภาที่มีที่มาจากตัวแทนประชาชนอย่างแท้จริง
เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ประเทศไทย และองค์กรเครือข่าย
ประกอบด้วย :
๒) กลุ่มคนรักบ้านเกิด
กรณีเหมืองแร่ทองคำจังหวัดเลย
๓)
กลุ่มคนรักบ้านเกิดอุมุง กรณีเหมืองแร่เหล็ก อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
๔)
กลุ่มอนุรักษ์ภูหินเหล็กไฟ อำเภอเมือง จังหวัดเลย
๕)
กลุ่มศึกษาปัญหาดินเค็มและการจัดการทรัพยากรแร่ จังหวัดนครราชสีมา
๖)
กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา
๗)
กลุ่มรักทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
๘) กลุ่มเผยแพร่กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม
(ดาวดิน)
๙)
กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากสารแคดเมี่ยม แม่ตาว จ.ตาก
๑๐)
กลุ่มรักษ์บ้านแหง จังหวัดลำปาง
๑๑)
กลุ่มป่าชุมชนเขาเหล่าใหญ่-ผาจันได
๑๒) กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมท้องถิ่นบ้านกลาง
อ.อ่าวลึก จ.กระบี่
๑๓) คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน
ภาคอีสาน (กป.อพช.อีสาน)
๑๔) เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ทองคำ
3 จังหวัด พิจิตร
เพชรบูรณ์และพิษณุโลก
๑๕) เครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ จ.ลำปาง
๑๖) เครือข่ายพิทักษ์สิทธิชุมชนเขาคูหา
อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
๑๗) โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่
๑๘) ชุมชนลุ่มน้ำสรอย จ.แพร่
๑๙) มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW)
๒๐) ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ(ศสส.)อีสาน
๒๑) ศูนย์ข้อมูลชุมชน (CRC)
------------------
Public StatementRecommendations concerning the Draft Mining Act B.E....22 January 2015Law Reform Commission, 16th Floor, Software Park Building
The cabinet
endorsed in principle the Draft Mining Act B.E.... on 21 October 2014. Proposed
by the Ministry of Industry, the Bill is being read by the Council of State.
The people’s sector who own Thailand’s extractive resources and allied
organizations have reviewed the Bill and have found much of
its content in favor of mining operators in their exploration and mining rather
than for the protection of public interest and local community. The Bill tends
to serve economic interest at the expense of local community and the
conservation and protection of area so vitally important to the environmental
quality. No consideration is given to the right to live in a decent environment
which causes no harm to the health and quality of life even though it is the
community and people who own the extractive resources and are slated to bear
the brunt from mining operation.
Today, the Law Reform Commission (LRC) has made another draft of the Mining
Act which includes input from people’s sector and aims to ensure balanced and
sustainable utilization of natural resources and participation from the
community and people. It proposes a national master plan for the management of
extractive resources in compliance with the Strategic Environmental Assessment
Report purported to conserve and protect endangered area and prohibit the
exploration and operation of mining in Forest Reserve, National Park, natural
heritage, and watershed area. In addition, it requires that any mining
exploration can only be made possible when consent of the owners of the land is
obtained. This point has made this Draft Act markedly different from the one
proposed by the Ministry of Industry.
The people’s sector who own Thailand’s
extractive resources and allied organizations [1]are
opposed to the Ministry of Industry’s Draft Mining Act
B.E.... for it excludes public participation during the drafting process and in
its content. Also, in light of the reform and drafting of the new Constitution,
any law which may affect natural resources and the rights and freedom of people
should be put on hold pending the promulgation of the Constitution and pending
the Parliament composed of representatives elected by people. And people must
be allowed to participate in the drafting process and give their input which
should be reflected in the draft law.
The undersigned
people’s sector who own Thailand’s extractive resources and allied
organizations have the following to propose to the government and the Council
of State;
1.
The
Council of State must review the Ministry of Industry’s Draft Mining Act B.E....by considering input from people’s sector toward
the draft law and by also incorporating the Draft Mining Act made by the Law
Reform Commission.
2.
The
Prime Minister must instruct the Council of State to set up a taskforce to
review both drafts of the Mining Bill (the versions by the Ministry of Industry and the Law Reform Commission). It
should be composted of representatives from the Council of State, Department of
Primary Industries and Mines (DPIM), Law Reform Commission, National Human
Rights Commission and people’s sector in order to read the
Bill carefully.
3. After implementing (1) and (2), the government must put off the proposition
of the Bill for reading by the National Legislative Assembly pending the
promulgation of the new Constitution and pending the election of the Members of
Parliament.
The people’s sector who own Thailand’s
extractive resources and allied organizations are composted of;
- Udonthani Environmental Conservation Group
- Khon Ruk Ban Kerd Conservation Group (Loei gold mining action group)
- Ruk Ban Kerd Conservation Group (Steel Mining, Chiang Khan District, Loei)
- Phu Hin Lek Fai Conservation Group, Moung District, Loei
- Salty Soil and Extractive Resource Management Study Group (Nakhon Ratchasima)
- Eco-Culture Study Group
- Rak Thongphaphum Group, Kanchanaburi
- Human Rights Law Education for Society Group (Dao Din)
- People Affected by Cadmium in Mae Tao, Tak
- Ruk Ban Haeng, Lampang
- Laoyai-Pha Jundai Community Forest Group
- Ban Klang Natural Resources and the Environment Conservation Group, Aoluk District, Krabi
- NGO Coordinating Committee (NGO-Cord), Northeast of Thailand
- Network of People Affected by Gold Mining in Three Provinces (Pichit, Petchabun, and Pitsanuloke)
- The Rights of Mae Moh Patients Group, Lampang
- Khao Kuha Community’s Rights Protection Group, Rattaphum District, Songkhla
- Mining Action and Public Policy Project
- Nam Sroy Basin Community, Phrae
- EnLAWTHAI Foundation
- E-san Human Rights and Peace Information Centre
- Community Resource Centre ( CRC)
No comments:
Post a Comment