ทนายเผย ทหารอุดรให้ขออนุญาตก่อนจัดประชุมชี้แจงคดีชาวบ้าน / (ประชาไท)
วันที่ 11 พ.ย. 57 ที่ผ่านมา ที่จ.อุดรธานี
ในการประชุมผู้ฟ้องคดีกรณีเขื่อนไซยะบุรีและเขื่อนดอนสะโฮงระหว่าง เจ้าหน้าที่ทหาร
4 นาย และตำรวจสันติบาล 3 นาย
ได้เข้ามาสอบถาม พร้อมเชิญทนายความทำหนังสือขออนุญาตจัดประชุม
โดยทนายความระบุว่าไม่เห็นความจำเป็นว่าการประชุมคดีระหว่างทนายความและลูกค้าจะต้องมีการขออนุญาตแต่อย่างใด
โดยนางสาวส.รัตนมณี
พลกล้าทนายความ เปิดเผยว่า
ก่อนหน้านี้ในการประชุมชาวบ้านกรณีเหมืองแร่ลิกไนต์ที่ลำปาง ซึ่งมีการประชุมชี้แจงเพื่ออธิบายถึงกฎอัยการศึกให้กับชาวบ้าน
เนื่องจากชาวบ้านต้องไปยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเชียงใหม่กรณีเพิกถอนใบอนุญาตใช้พื้นที่ป่า
ตนและชาวบ้านก็ถูกเจ้าหน้าที่ทหารเรียกไปรายงานตัว โดยอ้างว่า
ทนายและเอ็นจีโอเข้าไปปลุกระดมให้ชาวบ้านต่อต้านกฎอัยการศึก ซึ่งไม่เป็นความจริง ข่าวมีรายละเอียดดังนี้.....
11 พ.ย. 2557 ส.รัตนมณี พลกล้า
ทนายความศูนย์ข้อมูลชุมชน ให้สัมภาษณ์ว่า วันนี้
ขณะจัดประชุมภายในเพื่อปรึกษาหารือคดีกับชาวบ้านที่ฟ้องคดีเขื่อนไซยะบุรีและเขื่อนดอนสะโฮง
กว่า 20 คน ที่โรงแรมแห่งหนึ่งในจังหวัดอุดรธานี
ปรากฏว่ามีเจ้าหน้าที่ทหาร 4 นาย ตำรวจสันติบาล 3 นาย เข้ามาสอบถาม พร้อมเชิญไปทำหนังสือขอจัดประชุมที่ค่ายก่อน
แต่ตนเองปฏิเสธ ต่อมาเจ้าหน้าที่จึงนำหนังสือมาให้เซ็น
ส.รัตนมณี กล่าวว่า เอกสารที่ทางทหารนำมานั้นมีการเซ็นอนุมัติโดย พ.อ.วีระพงษ์ คำสิทธิ์ ผบ.ศูนย์การฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มทบ.24 ไว้อยู่แล้ว ตนเองจึงได้เขียนขออนุญาตจัดประชุมชี้แจงเกี่ยวกับคดีเขื่อนไซยะบุรีและเขื่อนดอนสะโฮง ระหว่างวันที่ 11-12 พ.ย. ในเอกสารนั้น จากนั้น การประชุมก็ดำเนินไป โดยมีเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจขอเข้าฟัง พร้อมขอเอกสารประกอบ เช่น เอกสารสรุปคำให้การด้วย
เธอกล่าวว่า เจ้าหน้าที่ที่มามีท่าทีที่ดี ซึ่งเธอก็เข้าใจในการทำหน้าที่ของทุกฝ่าย แต่ก็ตั้งคำถามว่า เหตุใดการประชุมคดีกับลูกความจึงต้องขอนุญาตก่อน และหากเป็นคดีในสามจังหวัดภาคใต้ หรือคดีที่มีจำเลยเป็นทหาร จะทำอย่างไร หากต้องให้เขามาฟังด้วยคงไม่ถูกต้อง
ส.รัตนมณี กล่าวว่า ปกติการประชุมคดีเป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรม งานคดีไม่ใช่การเมือง ถามว่า ต้องอนุญาตด้วยหรือ ศูนย์ข้อมูลชุมชนนั้นช่วยเหลือชาวบ้านทั่วทุกภาค คดีที่ทำเกี่ยวกับชุมชนทั้งนั้น ไม่ใช่คดีบุคคล ประชุมกันที 10-20 คน หรือมากที่สุดก็ถึง 100 คน ก็ถูกบอกให้ขอหน่วยงานจังหวัดก่อนทุกครั้ง หรืออย่างน้อยก็ต้องแจ้งอำเภอ
ส.รัตนมณี กล่าวว่า ไม่เคยเจอกรณีเช่นนี้มาก่อน พร้อมเล่าว่า วานนี้ที่ จ.ลำปาง ทราบมาว่ามีทหารเข้าไปหาชาวบ้านและเรียกแกนนำชาวบ้านและตนเองไปรายงานตัว โดยบอกว่า ทนายและเอ็นจีโอเข้าไปปลุกระดมให้ชาวบ้านต่อต้านกฎอัยการศึก ทั้งที่จริงๆ แล้ว เมื่อวันที่ 5 พ.ย. ที่ผ่านมา ตนเองได้จัดประชุมชี้แจงเพื่ออธิบายถึงกฎอัยการศึกต่อชาวบ้าน เนื่องจากพวกเขาต้องการจะไปยื่นต่อศาลปกครองเชียงใหม่ให้พิจารณาเพิกถอนใบอนุญาตใช้พื้นที่ป่า และใบอนุญาตแผ้วถางป่า ซึ่งยื่นไปแล้วเมื่อวันที่ 7 พ.ย.
ส.รัตนมณี ระบุว่า คดีดังกล่าวเป็นคดีที่ชาวบ้านฟ้องเพิกถอนสัญญาซื้อไฟฟ้าจากโครงการเขื่อนไซยะบุรีในประเทศลาว ตั้งแต่เมื่อวันที่ 7 ส.ค.55 ศาลรับฟ้อง 24 มิ.ย.57 และมีการส่งคำให้การของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กฟผ. ครม.กลับมาแล้ว การประชุมในวันนี้ก็เพื่อดูว่าจะทำคำคัดค้านคำให้การเพื่อยื่นต่อศาลในประเด็นใด อย่างไร และจะวางแผนคดีว่าจะดำเนินต่อไปอย่างไร
ส.รัตนมณี กล่าวว่า เอกสารที่ทางทหารนำมานั้นมีการเซ็นอนุมัติโดย พ.อ.วีระพงษ์ คำสิทธิ์ ผบ.ศูนย์การฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มทบ.24 ไว้อยู่แล้ว ตนเองจึงได้เขียนขออนุญาตจัดประชุมชี้แจงเกี่ยวกับคดีเขื่อนไซยะบุรีและเขื่อนดอนสะโฮง ระหว่างวันที่ 11-12 พ.ย. ในเอกสารนั้น จากนั้น การประชุมก็ดำเนินไป โดยมีเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจขอเข้าฟัง พร้อมขอเอกสารประกอบ เช่น เอกสารสรุปคำให้การด้วย
เธอกล่าวว่า เจ้าหน้าที่ที่มามีท่าทีที่ดี ซึ่งเธอก็เข้าใจในการทำหน้าที่ของทุกฝ่าย แต่ก็ตั้งคำถามว่า เหตุใดการประชุมคดีกับลูกความจึงต้องขอนุญาตก่อน และหากเป็นคดีในสามจังหวัดภาคใต้ หรือคดีที่มีจำเลยเป็นทหาร จะทำอย่างไร หากต้องให้เขามาฟังด้วยคงไม่ถูกต้อง
ส.รัตนมณี กล่าวว่า ปกติการประชุมคดีเป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรม งานคดีไม่ใช่การเมือง ถามว่า ต้องอนุญาตด้วยหรือ ศูนย์ข้อมูลชุมชนนั้นช่วยเหลือชาวบ้านทั่วทุกภาค คดีที่ทำเกี่ยวกับชุมชนทั้งนั้น ไม่ใช่คดีบุคคล ประชุมกันที 10-20 คน หรือมากที่สุดก็ถึง 100 คน ก็ถูกบอกให้ขอหน่วยงานจังหวัดก่อนทุกครั้ง หรืออย่างน้อยก็ต้องแจ้งอำเภอ
ส.รัตนมณี กล่าวว่า ไม่เคยเจอกรณีเช่นนี้มาก่อน พร้อมเล่าว่า วานนี้ที่ จ.ลำปาง ทราบมาว่ามีทหารเข้าไปหาชาวบ้านและเรียกแกนนำชาวบ้านและตนเองไปรายงานตัว โดยบอกว่า ทนายและเอ็นจีโอเข้าไปปลุกระดมให้ชาวบ้านต่อต้านกฎอัยการศึก ทั้งที่จริงๆ แล้ว เมื่อวันที่ 5 พ.ย. ที่ผ่านมา ตนเองได้จัดประชุมชี้แจงเพื่ออธิบายถึงกฎอัยการศึกต่อชาวบ้าน เนื่องจากพวกเขาต้องการจะไปยื่นต่อศาลปกครองเชียงใหม่ให้พิจารณาเพิกถอนใบอนุญาตใช้พื้นที่ป่า และใบอนุญาตแผ้วถางป่า ซึ่งยื่นไปแล้วเมื่อวันที่ 7 พ.ย.
ส.รัตนมณี ระบุว่า คดีดังกล่าวเป็นคดีที่ชาวบ้านฟ้องเพิกถอนสัญญาซื้อไฟฟ้าจากโครงการเขื่อนไซยะบุรีในประเทศลาว ตั้งแต่เมื่อวันที่ 7 ส.ค.55 ศาลรับฟ้อง 24 มิ.ย.57 และมีการส่งคำให้การของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กฟผ. ครม.กลับมาแล้ว การประชุมในวันนี้ก็เพื่อดูว่าจะทำคำคัดค้านคำให้การเพื่อยื่นต่อศาลในประเด็นใด อย่างไร และจะวางแผนคดีว่าจะดำเนินต่อไปอย่างไร
No comments:
Post a Comment